Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77031
Title: | อิทธิพลขององค์ประกอบของสารเคลือบผลไม้ที่มีเชลแล็กและไขต่อคุณสมบัติของสารเคลือบและการยืดอายุการเก็บรักษาเงาะโรงเรียน |
Other Titles: | Effects of compositions of shellac/wax-based fruit coating on characteristics of coating solutions and shelf-life extention of rambutan (nephelium lappaceum l. Cv. Rongrien) |
Authors: | กาญจนา อินทลักษณ์ |
Advisors: | สีรุ้ง ปรีชานนท์ อภิตา บุญศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ทำการพัฒนาสูตรสารเคลือบผลไม้จากเชลแล็กขาวเกรดอาหารและไขคาร์นูบา โดยศึกษาผลของชนิดสารลดแรงตึงผิว กรดโอเลอิก กรดโอเลอิกผสมโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต กรดโอเลอิกผสมทวีน 80 ทวีน 80 ผสมสแปน 80 และทวีน 80 ที่ค่า HLB ต่างๆ และทดสอบประสิทธิภาพของสารเคลือบต่อคุณภาพในการเก็บรักษาเงาะ จากการศึกษาสมบัติของสารเคลือบพบว่า สารเคลือบสูตรกรดโอเลอิก (HLB1) และสูตรกรดโอเลอิกผสมทวีน80 (HLB12.5) มีขนาดอนุภาคเล็ก ความคงตัวสูง และค่าการซึมผ่านของไอน้ำต่ำ มีลักษณะฟิล์มอิมัลชันเรียบเป็นเนื้อเดียว การประเมินประสิทธิภาพของสารเคลือบพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ เคมี และความพึงพอใจของผู้บริโภค สูตรสารเคลือบที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพเงาะคือ สูตรกรดโอเลอิก (HLB1) 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยมวล เมื่อเก็บรักษาที่ 12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยสามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ชะลอการเปลี่ยนแปลงขนดำ และให้ความแน่นเนื้อดี แต่พบคราบขาวหรือจุดขาวที่ผลเงาะ จึงทำการพัฒนาสารเคลือบผิวผลไม้จากเชลแล็กขาวที่มีกรดโอเลอิกเป็นสารลดแรงตึงผิว โดยการดัดแปลงด้วยไขคาร์นูบาและไขผึ้ง การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าสารเคลือบที่ดัดแปลงด้วยไขผึ้งสามารถรักษาคุณภาพเงาะได้ดีเท่ากับสารเคลือบดัดแปลงด้วยไขคาร์นูบา แต่ไม่เกิดคราบขาวหรือจุดขาวที่เปลือกและขนเงาะ เมื่อทดสอบระดับการค้า พบว่าการเคลือบผิวเงาะด้วยสารเคลือบสูตรเชลแล็กดัดแปลงด้วยไขคาร์นูบา และสูตรเชลแล็กดัดแปลงด้วยไขผึ้ง ให้ผลทดลองที่ดี โดยพบว่าระยะเวลาการเก็บรักษาที่เหมาะสมที่ทำให้เงาะยังคงสภาพดีคือ เคลือบด้วยสารเคลือบและเก็บไว้ที่ 12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 และ 2 สัปดาห์ สามารถย้ายมาวางขายที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้เป็นเวลา 2 และ 1 วันตามลำดับ โดยสารเคลือบสามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ชะลอการเปลี่ยนแปลงขนดำ และให้ความแน่นเนื้อดี และพบว่าสารเคลือบสูตรเชลแล็กดัดแปลงด้วยไขผึ้ง 5 เปอร์เซ็นต์โดยมวล มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานเพราะไม่พบคราบขาวหรือจุดขาวที่เปลือกและขนผลเงาะเช่นเดียวกับการทดสอบเคลือบเงาะระดับห้องปฏิบัติการ |
Other Abstract: | This project presents the development of shellac-based fruit coating formulations modified with different surfactant types namely; oleic acid, tween80, oleic acid/sodium dodecyl sulfate, oleic acid/tween80, and tween80/span80. The results from the characterization of the coating solution revealed that coating formulation with the oleic acid (HLB1) and oleic acid/tween80 (HLB12.5) led to small particle size of dispersed wax phase, high stability, and low water vapor transmission (WVT). The suitable fruit coating formulation was found to be the one with 2.5 %(w/w) oleic acid when tested by dip-coating rambutan (cv.Rongrien) and stored at 12 °C, 85-95 % relative humidity for two weeks.This resulted in satisfactory appearances of rambutan, delay of the fruit hair darkening, and higher firmness. But the white crust was found on the rambutan surface. Therefore, the coating formulation was further improved by investigating effects of carnauba and beeswax on coating efficiency using oleic acid 2.5%(w/w) as a based solution. The efficacy of coating formulations was again tested on rambutan. The coating formulation modified with 5%(w/w) beeswax was selected for laboratory scale evaluation on preserving quality of rambutan. This formulation resulted in suitable rambutan surface without white crusts. The coated rambutans kept their qualities for at least 2 week in a commercial cold room (12°C,85-95% relative humidity). These coated rambutans still remained its freshness after stored on shelves (at 25 °C) for 2 days and 1 days after the first and the second week of storage in the cold room. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77031 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670120021.pdf | 8.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.