Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7721
Title: | การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด |
Other Titles: | A study of state and problems of the academic development administration of the Provincial General Education Offices |
Authors: | พนัสดา สีมั่น |
Advisors: | วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | weerawat.u@chula.ac.th |
Subjects: | สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด การศึกษาขั้นมัธยม การบริหารงานวิชาการ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด จำนวน 76 สำนักงาน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด 76 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ฝ่ายพัฒนาวิชาการ 76 คน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาวิชาการ 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การวางแผนการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ 2) การดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ด้านพัฒนาวิชาการ 8 งาน คือ งานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและเอกสารทางวิชาการ งานติดตามและประเมินผลการศึกษา งานส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและศิลปวัฒนธรรม งานนันทนาการและการกีฬา งานวิจัย งานส่งเสริมกลุ่มโรงเรียนและศูนย์พัฒนาวิชาการ และงานพัฒนาบุคคลากร 3) การประเมินผลการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ได้มี 1. การวางแผนการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดได้มีการกำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์การบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการไว้อย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ฝ่ายพัฒนาวิชาการเป็นผู้พิจารณาร่วมกับตัวแทนจากกลุ่มโรงเรียน ศึกษานิเทศน์จังหวัดได้จัดให้มีการประชุมระดมพลังสมอง เพื่อให้ได้ความต้องการจำเป็นของฝ่าย และวางแผนงานพัฒนาวิชาการโดยวิธีจัดทำสายงานพัฒนาวิชาการและกำหนดหน้าที่ของบุคลากรในฝ่ายพัฒนาวิชาการ 2. การดำเนินการตามภารกิจด้านพัฒนาวิชาการ 8 งาน ส่วนใหญ่ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กรมสามัญศึกษากำหนดไว้ ยกเว้น งานวิจัยและการจัดทำธนาคารข้อสอบ มีการดำเนินการน้อยมาก 3. การประเมินผลการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ มีการกำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนและโครงการ ของฝ่ายพัฒนาวิชาการ โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ฝ่ายพัฒนาวิชาการ และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาวิชาการเป็นผู้ดำเนินการ โดยรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการทุกโครงการ และรายงานตามช่วงเวลาที่กำหนด 4. ปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การวางแผนงานและโครงการ งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะด้าน ขาดการนำผลจากการประเมินไปใช้ |
Other Abstract: | To study the state and problems of the academic development administration of the Provincial General Education Offices. The samples of this study consisted of 76 directors, 76 assistant directors and 76 heads in academic development affairs from 76 offices of the Provincial General Education Offices. The instrument used in this research was questionaire classified into three categories as follows : 1) the administration planning in academic development 2) the performance in accordance with 8 academic development work namely; curriculum, learning media and academic material development, following and evaluating outcome of instruction, morality and art and culture promotion, recreation and sport, research, school clusters promotion and academic development centre and personnel development 3) the evalution of the academic development administration. The results of this study revealed that 1. According to the administration planning in academic development, the Provincial General Education Offices planned the academic development in the term of establishing the policies and objectives of academic development administration distinctly by authorizing assistant directors in acdemic development affairs cooperated with representatives from the school cluster, provincial educational supervisors managing the brainstroming to meet the need assessment of the department, setting the chain of command and job description of personnel in academic development. 2. According to the performance in accordance with 8 academic development work, designated plans of the general education department were conformed except research and item banking which were scarely performed. 3. According to the evaluation of the academic development administration, the performance was coordinated and followed in accordance with plans and projects of academic development and authorized to assistant directors and heads in academic development affairs to perform the work and report every project when finished and the work performance within the time limits. 4. Problems of the academic development administration were as follow: staff's lacking of knowledge in planning and projects, insufficiency of budget, deficiency of expert in specific field and scarcity of utilizing the outcome of evaluation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7721 |
ISBN: | 9746384082 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panasda_Se_front.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panasda_Se_ch1.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panasda_Se_ch2.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panasda_Se_ch3.pdf | 804.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Panasda_Se_ch4.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panasda_Se_ch5.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panasda_Se_back.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.