Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77641
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | กันต์ฤทัย รักอนันตชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-10-24T02:21:04Z | - |
dc.date.available | 2021-10-24T02:21:04Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77641 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | ในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบัน ทำให้ผู้เช่าซื้อรถยนต์จำนวนไม่น้อยไม่ สามารถชำระหนี้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ค่างวดเช่าซื้อรถยนต์ ผู้ติดตาม ทวงหนี้โดยธนาคารหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากธนาคารจึงต้องติดตามทวงถามหนี้ แต่ยังมีลูกหนี้ที่ ได้รับความเดือดร้อนจากการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมหรือกระทำการที่เกินกว่าเหตุ และมีการ ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในลักษณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ล้วนละเมิดสิทธิและ เสรีภาพของลูกหนี้ทั้งยังมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการติดตามทวงถามหนี้ในอัตราที่สูงเกินสมควร จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์ จากการติดตามทวงถามหนี้ โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้ความคุ้มครอ งไว้เป็น หลักการทั่วไป และมีกฎหมายลำดับรองต่างๆ บัญญัติไว้ ทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 รวมทั้งประกาศต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้บทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายฉบับต่างๆ ยัง ไม่เพียงพอกับการคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์จากการติดตามทวงถามหนี้ และยังไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายฉบับ ใดที่เข้ามากำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์โดยตรง ตั้งแต่การติดตามทวงถามหนี้เมื่อผิดนัด ชำระค่างวดเช่าซื้อ การติดตามและกลับเข้าครอบครองรถยนต์คืนจากผู้เช่าซื้อ และการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ต่างๆ จากการติดตามทวงถามหนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธี ปฎิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ไว้โดยเฉพาะ คือ The Fair Debt Collection Practices Act of 1977 มีเนื้อหาสาระการควบคุมการติดตามทวงหนี้ที่ชัดเจน ในส่วนผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง ข้อปฏิบัติและข้อ ห้ามปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ และการควบคุมโดยคณะกรรมการ นอกจากนี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการยึดรถยนต์คันเช่าซื้อคืน รวมทั้งมีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในเรื่อง ของการเก็บค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาตรการในบางเรื่องมาประยุกต์ใช้และ เสนอแนะเพิ่มเติมในกฎหมายไทย เพื่อคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์จากการติดตามทวงถามหนี้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังนี้ 1. พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ให้พิจารณาปรับเวลาในการติดต่อทวงถามหนี้ โดย กำหนดให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อทวงถามหนี้ได้ในวันธรรมดาและเสาร์อาทิตย์ เวลา 9.00-17.00 นาฬิกา เท่านั้น และห้ามทำการติดต่อทวงถามหนี้ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2. ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ให้เพิ่มเติมประเด็นในเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการ ติดตามทวงถามหนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในเรื่องของการค้นหาข้อมูลลูกหนี้จากบุคคลอื่น มีการชะลอการ ติดตามทวงถามหนี้แบบชั่วคราว และการติดต่อสื่อสารในการติดตามทวงถามหนี้ ให้นำหลักเงื่อนไขการ รับรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ของผู้ติดตามทวงถามหนี้มาปรับใช้ เพื่อให้เกิดความยืนหยุ่นและปฏิบัติได้จริง และ เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกหนี้ นอกจากนี้ให้นำมาตรการการดำเนินคดีทั้ง ทางแพ่งและทางอาญามาบังคับใช้อย่างเข้มงวดและเด็ดขาดในการดำเนินคดี และเพิ่มเติมบทบัญญัติ เกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องในส่วนค่าเสียหายทางจิตใจอย่างชัดเจน 3. ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็น ธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 ให้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติในการดำเนินการยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน ทั้งใน ลักษณะที่เป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และลักษณะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้เช่าซื้อ รถยนต์อย่างร้ายแรง นอกจากนี้ให้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการติดตามทวง ถามหนี้ โดยกำหนดระยะเวลาผ่อนผันแก่ลูกหนี้ในการชำระเงิน กำหนดอัตราเพดานสูงสุดของค่าใช้จ่ายใน การยึดรถยนต์ที่เรียกสามารถเก็บได้และกำหนดส่วนต่างของผลขาดทุนหลังขายรถที่จะไม่เรียกเก็บจากผู้ เช่าซื้ออีก เพื่อไม่ให้เป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้เช่าซื้อรถยนต์เกินสมควร การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรฐานการติดตามทวงถามหนี้ให้มีความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ความคุ้มครองแก่ทั้งฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อและฝ่ายผู้เช่าซื้ออย่างเท่าเทียมกัน และลดปัญหาการ ติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในสังคม ต่อไป | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.151 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รถยนต์ -- การจัดซื้อ | en_US |
dc.subject | การผิดนัดชำระหนี้ | en_US |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์จากการติดตามทวงถามหนี้ | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.subject.keyword | เช่าซื้อรถยนต์ | en_US |
dc.subject.keyword | ทวงถามหนี้ | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.151 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280008034.pdf | 10.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.