Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77654
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorนันทวรรณ อินทรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-28T09:08:52Z-
dc.date.available2021-10-28T09:08:52Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77654-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะ สตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารสตรีทฟู้ด และศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อ นำมาพัฒนาและส่งเสริมการประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ด และทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงการบริโภคอาหารที่ ปลอดภัย อร่อย สะดวกและราคาไม่แพงมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมไทยต้อง เผชิญทั้งในระบบเศรษฐกิจ สุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะการเงินในการดำรงชีวิต อีกทั้ง วิกฤตการณ์โควิด 19 อย่างไรก็ตามกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหารสตรีทฟู้ด รัฐได้กำหนดข้อ กฎหมายตั้งแต่พระราชบัญญัติไปจนถึงประกาศกรุงเทพมหานคร และมีลักษณะของเนื้อหากฎหมาย เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดในรูปแบบมาตรการควบคุม มีกฎเกณฑ์สำหรับการดำเนิน ธุรกิจ มีการใช้ระบบใบอนุญาต และกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีการ บังคับใช้กฎหมายตามแต่เขตพื้นที่นั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากฎหมายในเนื้อหาบางส่วนที่บังคับใช้ใน ปัจจุบันยังคงไม่คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่ยังคงไม่เป็นระบบ จากการศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในประเทศ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาปรับใช้กับกรุงเทพมหานครได้ โดยกำหนดข้อกฎหมายทั้งข้อ ปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับสุขลักษณะอนามัยของการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด ส าหรับมาตรการควบคุมของภาครัฐเชิงพื้นที่และเชิงการบริหารจัดการ มีการน าเอาเทคโนโลยีเช่น ระบบกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง ระบบการกำหนดพื้นที่จำหน่ายอาหารในที่สาธารณะ ระบบการสมัครยื่น ขอหรือต่อใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดผ่านช่องทางออนไลน์มาใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงจัดทำคู่มือเกี่ยวกับขั้นตอนการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในรูปแบบที่มีเนื้อหาชัดเจน และคลอบคลุมผ่านสื่อออนไลน์ มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้เกี่ยวข้องที่มีความชำนาญ เฉพาะในการสร้างองค์ความรู้ การวางแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐ ท าให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดมีโอกาสในการ ประกอบกิจการมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมให้ธุรกิจสตรีทฟู้ดของ กรุงเทพมหานครให้เติบโตในระดับสากลมากยิ่งขึ้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.147-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาหาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectอาหาร -- การบริโภคen_US
dc.titleมาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานครen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordธุรกิจสตรีทฟู้ดen_US
dc.subject.keywordการจำหน่ายอาหารen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.147-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280044634.pdf10.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.