Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77913
Title: การเปรียบเทียบวิธีการสุ่มตัวอย่างพื้นผิวเพื่อตรวจสอบจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิดบนพื้นผิวสัมผัสอาหาร
Other Titles: Comparison of surface sampling methods for detecting some pathogens on food contact surfaces
Authors: อรพินท์ พรเรืองทรัพย์
Advisors: สุวิมล กีรติพิบูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: การปนเปื้อนในอาหาร
จุลชีพก่อโรค
Food contamination
Pathogenic microorganisms
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคบนพื้นผิวสัมผัสพื้นผิวสัมผัสอาหารในโรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมถือ เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพของผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในโรงงานผลิตอาหาร วิธีที่นิยมใช้คือ เทคนิคการสวอบ งานวิจัยนี้ได้ศึกษา (ชนิดสวอบ, ความขรุขระของพื้นผิว การสวอบขณะพื้นผิวเปียกและพื้นผิวแห้งและชนิดของแบค ทีเรียที่อยู่บนพื้นผิว) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเก็บเชื้อจากพื้นผิว สวอบที่ใช้มี 4 ชนิดคือ สวอบสำลี (cotton) สวอบโฟมพอลิยูรีเทน (PU foam) ผ้าก๊อซ (gauze) และฟองน้ำเซลลูโลส (sponge) ทำการเก็บ เชื้อ Salmonella Typhimurium, Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus และ Escherichia coli จากพื้นผิวสเตนเลสและพอลิเอสเทอร์ยูรีเทนแบเก่าและใหม่ โดยในขั้นแรกได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพ ของสวอบทั้ง 4 ชนิดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (light microscope) พบว่า โครงสร้างของสวอบโฟมมีรูพรุนขนาดเล็กกว่า ฟองน้ำเซลลูโลส สวอบสำลีมีเส้นใยขนาดเล็กเรียงซ้อนกัน ต่างจากผ้าก๊อซมีลักษณะโครง สร้างรูกว้างและวัดความขรุขระ (Roughness, Ra) ของพื้นผิวทั้ง 3 ประเภท พบว่าค่าความขรุขระของผิวสเตนเลส พอลิเอสเทอร์ยูรีเทนแบบใหม่และเก่าอยู่ที่ 0.14 0.00, 0.050.00 1.440.01µm ตาม ลำดับ จากนั้นจึงศึกษาการปล่อยแบคทีเรียออกจากสวอบเมื่อใส่เชื้อที่มีความเข้มข้นของเซลล์ที่ระดับ 5 Log CFU/mL ลงบนสวอบโดยตรงพบว่า ประสิทธิภาพการปล่อยแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด จากฟองน้ำเซลลูโลส สวอบโฟมพอลิยูรีเทนและ ผ้าก๊อซ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 94.09-99.34% มากกว่าสวอบสำลีที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 80.76-87.17% จากนั้นได้นำสวอบไปทดสอบประสิทธิภาพการเก็บเชื้อจากพื้นผิวทั้งสามชนิด โดยเก็บพื้นผิวในสภาสะเปียกและแห้ง พบว่าประสิทธิภาพการเก็บเชื้อบนพื้นผิวเปียกของฟองน้ำเซลลูโลส สวอบ โฟมพอลิยูรีเทน และผ้าก๊อซ มีค่าอยู่ในช่วง 80.12-98.19% 87.30-98.54% และ 77.93-100.87% ตาม ลำดับ ซึ่งมากกว่าสวอบสำลีที่มีค่าอยู่ในช่วง 79.01-92.49% และประสิทธิภาพการเก็บเชื้อขณะพื้นผิวแห้งของสวอบทุกชนิดมีค่าน้อยกว่าการสวอบบนพื้นผิวเปียกซึ่งมีค่าอยู่ในชาวง 33.85-63.40% โดยฟองน้ำเซลลู โลสให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วง 52.31-78.40% สวอบโฟมพอลิยูรีเทนมีค่า 47.97-70.44% ผ้าก๊อซมีค่า 46.72-74.40% และสวอบสำลีให้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในช่วง 33.85-63.31% ประสิทธิภาพการเก็บไบโอฟิล์ม พบว่า ฟองน้ำเซลลูโลส และสวอบโฟมพอลิยูรีเทนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 47.68-54.97% และ 48.29-55.16% ตามลำดับ จากผลการวิจัยนี้พบว่า ชนิดสวอบและสภาวะพื้นผิวขณะสวอบ (แห้งและเปียก) มีผลต่อประสิทธิภาพในการเก็บจุลินทรีย์ก่อโรคจากพื้นผิว ดังนั้นการเลือกใช้สวอบที่เหมาะสมกับลักษณะของพื้นผิว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเชื้อจากพื้นผิว ทำให้ทราบถึงปัญหาการปนเปื้อนที่แท้จริงในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งจะทำให้โรงงานสามารถแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนได้อย่างทันท่วงที
Other Abstract: Contamination of foodborne in food product is the major concern in food industry. To ensure safety of finished product, it is necessary to control the cleanliness of the production environment. The most common technique used for hygiene monitoring in a processing line is swabbing technique. The purpose of this study is to identify several factors (types of swab, surface and bacteria) which affect swab efficiency when using this technique to inspect foodborne pathogen available on surfaces. Four types of swab including cotton, polyesterurethane form (PU foam), sponge and gauze swab were used to recover pathogens (Salmonella Typhimurium, Staphylococcus aureus, Escherichia coli and Listeria monocytogenes from stainless steel and polyesterurethane (old and new) coupons. Efficiency of bacterial releasing from different swab type was evaluated, bacterial suspension (5 log CFU/ml) was directly inoculated in each swab type and observed amount of bacteria released. Sponge, PU foam and gauze swab show higher releasing efficiency (average range of 4 pathogens: 94.09-99.34%) comparing to cotton swab (80.76-87.17%). The efficiency of each swab to recover bacteria from each surface condition (wet and dry surfaces) was investigated Swabbing on a wet surface using sponge (80.12-98.19%), PU foam (87.30-98.54%) and gauze (77.93-100.78%) yield no significant difference of bacterial recovery efficiency which is considered to be higher than cotton swab (79.001-92.49%). In addition, swabbing on dry surface using sponge shows the highest bacterial recovery efficiency (52.31-78.40%), while cotton swab exhibit the lowest bacterial recovery (33.85-63.31%) Moreover, swabbing on dry surface condition decreased bacterial recovery efficiency of all swab types to 33.85-78.40%. The efficiency of each swab to recover bacterial biofilm from surface was also determined. Sponge (47.68-54.97%) and PU foam (48.29-55.16%) show higher percentage recovery of bacterial biofilm than cotton (45.10-50.09%) and gauze swab (48.29-55.16%) The results of this study clearly show that swab and surface types with dry/wet surface condition can affect bacterial recovery efficiency. Therefore, choosing appropriate type of swab related to conditions of surface can increase bacterial recovery efficiency from surface and help food industry to get more actual contamination situation in processing line. Higher efficiency of swab can help food industry to take immediate and appropriate corrective action in order to prevent product contamination.
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77913
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1949
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin_po_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_po_ch1_p.pdfบทที่ 1684.96 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.98 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_po_ch3_p.pdfบทที่ 31.03 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_po_ch4_p.pdfบทที่ 42.02 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_po_ch5_p.pdfบทที่ 5622.04 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.