Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78288
Title: | การวิเคราะห์ไกลโฟเซตด้วยวิธีการวัดสี |
Other Titles: | Detection of glyphosate using colorimetric method |
Authors: | ธนภูมิ มิ่งเจริญ |
Advisors: | ลักษณา ดูบาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ไกลโฟเสท การวิเคราะห์โดยการวัดสี Glyphosate Colorimetric analysis |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันมีการใช้สารกำจัดวัชพืชเป็นจำนวนมากในการทำการเกษตร หนึ่งในสารกำจัดวัชพืชที่เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศคือ ไกลโฟเซต ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่อมนุษย์ และยังตกค้างในดินและน้ำในบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีการตรวจวัดปริมาณไกลโฟเซตที่ง่าย และสามารถพัฒนาเป็นชุดตรวจวัดได้ ในงานวิจัยนี้วิธีการตรวจวัดเชิงสีสำหรับไกลโฟเซตได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยให้ไกลโฟเซตเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของไอออนเหล็ก (III) จากนั้นทำการตรวจวัดปริมาณไอออนเหล็ก (III) ที่เหลือด้วยโพแทสเซียม เฟอร์โรไซยาไนด์ ซึ่งเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนละลายน้ำของปรัสเซียน บลู ที่มีค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร โดยขั้นแรกศึกษา pH ที่เหมาะสมของสารละลายผสมไกลโฟเซต เฟอร์ริคคลอไรด์ และโพแทสเซียม เฟอร์โรไซยาไนด์ พบว่า pH 5 เป็น pH ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนเฟอร์ริค-โพแทสเซียม เฟอร์โรไซยาไนด์ในสารละลายที่มีไกลโฟเซตผสมอยู่ ทำการศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารละลายเฟอร์ริคคลอไรด์และโพแทสเซียม เฟอร์โรไซยาไนด์ ที่เหมาะสม พบว่าช่วงความเข้มข้นของสารละลายที่เหมาะสมคือ สูงกว่า 1.0 x 10⁻⁴ โมลาร์ แต่ไม่เกิน 1.5 x 10⁻⁴ โมลาร์ สำหรับไกลโฟเซตความเข้มข้น 0.1 – 2.0 ppm สุดท้ายทำการศึกษาความสามารถในการแข่งขันระหว่างการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของไอออนเหล็ก (III) กับไกลโฟเซต และไอออนเหล็ก (III) กับโพแทสเซียม เฟอร์โรไซยาไนด์ โดยใช้เทคนิค UV – Visible spectroscopy พบว่าสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างไอออนเหล็ก (III) กับไกลโฟเซตอาจจะเกิดได้ดีกว่าสารประกอบเชิงซ้อนไอออนเหล็ก (III) กับโพแทสเซียม เฟอร์โรไซยาไนด์ |
Other Abstract: | Nowadays, herbicides are used widely in agriculture. One of the world's most widely used herbicides is Glyphosate. It is toxic to humans and contaminates soil and water especially in agricultural areas. Thus, the easy detection method for glyphosate that can be developed into a test kit is essential. In this research, the colorimetric detection method was developed based on the measurement of the excess amount of Fe (III) ion after reacting with Glyphosate. The excess iron (III) ions was reacted with potassium ferrocyanide, K4[Fe(CN)6] forming soluble form of Prussian blue having the maximum absorbance at 700 nm. Firstly, the pH of the mixture of glyphosate, ferric chloride, and potassium ferrocyanide was optimized. The pH 5 was the most suitable for the formation of ferric-potassium ferrocyanide complex in the presence of glyphosate. Next, the concentration range of FeCl3 and K₄[Fe(CN)₆] was studied. The result showed that the concentration range should be more than 1.0x10⁻⁴ M but lower than 1.5x10⁻⁴ M for 0.1-2.0 ppm glyphosate. Finally, the competition between the formation of Fe³⁺-Glyphosate, and Fe³⁺-K₄[Fe(CN)₆] complexes was studied by using UV-Vis spectroscopy technique. As a result, the formation of Fe³⁺-Glyphosate complex might be able to form better than Fe³⁺-K₄[Fe(CN)₆] complex. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78288 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-CHEM-001 - Thanabhum.pdf | 803.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.