Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/782
Title: การสร้างมิติสัมพันธ์การใช้ภาษา เพื่อการเรียนการสอนและการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ และการสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาแบบมหภาษา : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Construction of a language matrix for the purposes of teaching, learning and testing English as a foreign language and a construction of tests for testing macro-language
Authors: กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ
ผ่าน บาลโพธิ์
Email: phan.b@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน
ภาษาอังกฤษ--การสอบ
ข้อสอบ
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างมิติสัมพันธ์การใช้ภาษา (Language Matrix) เพื่อการเรียนการสอน และการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศและเพื่อการสร้างแบบทดสอบสำหรับวัดความสามารถในการใช้ภาษาในแบบมหภาษา (Macro-Language) ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการวิจัย จำนวน1 ชุด เพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านวัฒนธรรมและสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา จำนวน 11 องค์ประกอบ ประชากรการวิจัยได้แก่ นิสิตระดับบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 360 คน ผลที่ได้จาการทดสอบนำมาหาค่าทางสถิติต่าง ๆโดยใช้โปรแกรม SPSS ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นชั้น ๆ การจัดกลุ่มทางสถิติแบบ Varimax rotated factor matrix และการหากลุ่มตัวทำนายความรู้ทางภาษาอานวัฒนธรรมและสังคม เพื่อสร้างสมการการทำนายความรู้ด้านวัฒนธรรมและสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบทางวัฒนธรรมและสังคม ทั้ง 11 องค์ประกอบ มีความสำคัญมากในการสื่อความหมาย จึงเป็นสางจำเป็นที่ต้องนำมาพิจารณาในการเรียนการสอนและการทดสอบองค์ประกอบทั้ง 11 องค์ประกอบนี้ มีลำดับความสำคัญและความสามารถในการทำนายความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและสังคมเกี่ยวกับภาษาต่างกัน ตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1. various communicative functions, 2. proper choice of words/sentences within certain situation, 3. holidays and celebrations, 4. distinguishing types of information, 5. tones, feelings, and attitudes, 6. daily pastime use, 7. association with places, 8. sources of information, 9. role relationship, 10. rhetorical device in literature 11. cultural specificity about names โดยเฉพาะองค์ประกอบในลำดับแรกนั้น มีความสามารถในการทำนายได้ถึงร้อยละ 46.7 องค์ประกอบ 8 องค์ประกอบแรก และองค์ประกอบที่ 10 ดังกล่าวนี้ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 กับองค์ประกอบทุกองค์ประกอบรวมกัน (.683 .314) ส่วนองค์ประกอบลำดับที่ 9 และลำดับที่ 11 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 กับองค์ประกอบทุกองค์ประกอบรวมกัน (r = 0.2117 และ r = 0.2385) ถ้าจะจัดกลุ่มองค์ประกอบทั้ง 11 นี้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามแบบ Varimax rotated factor matrix แล้วก็สามารถจัดออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน 2. ในการกำหนดมิติสัมพันธ์ของการทดสอบภาษานั้น นอกจากในด้านภาษาแล้ว ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น บทบาทและฐานะ ทัศนคติ และท่าทีของคู่สนทนา รูปแบบที่ใช้สื่อความหมาย ตลอดจนเรื่องราวเหตุการณ์ ฉากที่ใช้และกิจกรรมที่จะใช้ในการทดสอบด้วย 3. แบบทดสอบนี้ถือได้ว่า เป็นแบบทดสอบที่เข้ามาตรฐาน เนื่องจากมีค่าดัชนีความสอดคล้องในด้านเนื้อหาสูง .91 และมีความคงที่ t = 0.805 ในระดับ p = .05 และมีความคงที่นี้อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่สอบทั้งสองครั้งเท่ากับ 0.418
Other Abstract: The purposes of this study were to propose a language matrix for teaching. Learning and testing English as a foreign language and to construct a test on macro languages. One test on macro language was constructed for such purposes. The subjects of this study were 360 undergraduates and graduates at Chulalongkorn University. The observed data were processed by computer to determine the mean, standard deviation, correlation coefficient, stepwise multiple regression, varimax rotated factor matrix grouping and to find groups of language predictors in terms of socioculturals competence. Such grouping can, in turn, form a predictive equation for sociocultural competence. The results of the study were as follows. 1) All 11 sociocultural categories are improved in language teaching and learning for communicative use. The rank order of each component, together with its ability to predict the sociocultural competence, is as follows: 1. various communicative functions 2. proper choice of words/sentences within certain situation 3. holidays and celebrations 4. distinguishing types of information 5. tones, feelings, attitudes 6. daily pastime use 7. association with places 8.soures of information 9. role relationship 10. rhetorical device in literature 11. cultural specificity about names. The first category is of special importance because its predicting ability is 46.7 percent. The first eight categories and the tenth have moderately positive relationship statistically significant at .001 level (.683 .314) while the ninth and the eleventh categories show a rather low positive relationship statistically significant at .001 level. (r = .2117 and r = .2385). If these 11 categories are grouped according to the varimax rotated factor matrix, then four major groupings result. 2. In constructing language matrix for the purpose of teaching, learning and testing, besides the linguistic elements in language, other aspects that leas to sociocultural competence should be accounted for, namely the sociocultural categories, roles, status, attitudes, tones of those engaged in communication; instrumentally, communicative events and activities. 3. The macro language test is reliable. It has validity because the congruency coefficient index is .91. The test also has stability because the t value is 0.805. The stability is of a moderate level since the correlation coefficient between the two tests is 0.418.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/782
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantatip(matr).pdf16.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.