Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78408
Title: วิวัฒนาการของแนวสันทรายชายฝั่งจากจังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Evolution of beach ridge from Nakhon Si Thammarat province
Authors: สพล สาหรับ
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
พีรสิทธิ์ สุรเกียรติชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง
นิเวศวิทยาเนินทราย -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
Coastal geomorphology
Sand dune ecology -- Thailand -- Nakhon Si Thammarat
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บริเวณพื้นที่ราบชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งทะเลโดยอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงเป็นบริเวณกว้างและพบแนวสันทรายชายฝั่งเก่าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหลักฐานทางธรณีสัณฐานชายฝั่งที่สำคัญบ่งบอกสภาพแวดล้อมในอดีตได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาค่าอายุของแนวสันทรายเก่าบริเวณที่ราบตะกอนชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยวิธีการหาอายุด้วยการเปล่งแสงเชิงแสง เพื่อนำมาศึกษาวิวัฒนาการของที่ราบสันทรายชายฝั่งในอดีต จากภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงสามารถแบ่งพื้นที่ราบสันทรายโบราณออกได้เป็น 2 หน่วย ได้แก่ KK01-KK05 (5 ตัวอย่าง) และ CK (1 ตัวอย่าง) มีป่าพรุควนเคร็งเป็นที่ราบลุ่มน้ำขังอยู่ระหว่างทั้งสอง โดยแนวสันทราย KK เป็นสันทรายด้านใน มีทิศการวางตัวประมาณ 175 องศาจากทิศเหนือ มีระยะห่างระหว่างสันทรายประมาณ 900 เมตร และแนวสันทราย CK ทิศการวางตัวประมาณ 160 องศาจากทิศเหนือ มีระยะห่างระหว่างสันทรายประมาณ 500 เมตร ผลจากการศึกษาตะกอนในห้องปฏิบัติการพบว่าตะกอนสันทรายส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นทรายละเอียดถึงกรวด องค์ประกอบทางแร่ ประกอบด้วยแร่ควอตซ์ เป็นสัดส่วนมากกว่า 90 % มีแร่ไมกาและแร่หนักปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย ตะกอนมีความกลมมนต่ำ มีความเป็นทรงกลมต่ำ และมีการคัดขนาดไม่ดีถึงดีแตกต่างไป จากผลการหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสงเชิงแสง (OSL) และการศึกษาลำดับชั้นตะกอนพบว่าสันทราย KK05 มีอายุมากที่สุดคือประมาณ 76,200±4,680 ปี ก่อนปัจจุบัน ตามด้วย KK04 อายุ 66,780±4,050 ปีและ สันทราย KK01 อายุ 47,720±1,800 ปี เกิดในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดลง (regression) จากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดในสมัยไพลสโตซีน และสันทราย CK อายุ 4,390±190 ปีที่ผ่านมา เกิดในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดลง (regression) จากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดในสมัยโฮโลซีน โดยมีกระแสน้ำชายฝั่งพัดพาตะกอนในทิศเหนือ-ใต้
Other Abstract: The coastal areas in the eastern of Nakhon Si Thammarat province has deposition of coastal sediment by the influence of the tide and shows large old beach ridges which are important coastal morphological evidence indicating the environment in the past. The main objective of this research is dating of the old beach ridges in the coastal plain of Nakhon Si Thammarat province by using Optically stimulated luminescence (OSL) method for studying the evolution of the beach ridge in the past. High-resolution satellite images can divide the sand ridge into 2 units, Inner ridge and Outer ridge. There is swamp between both beach ridge units. The inner beach ridge has a direction of about 175 degrees from the north and It has a distance between the ridge about 900 meters. The outer beach ridge has a direction of about 160 degrees from the north and the distance between the ridge is about 500 meters. The results of laboratory studies show that most of the sand ridge sediment are fine sand to gravel. Mineral composition consisting of quartz more than 90%. Mica and heavy minerals are mixed slightly. The grain shape is sub-rounded to sub-angular with low sphericity. Sediment are Poorly sorted to Moderately sorted. The OSL date age of beach ridge are as follows, KK05 is the oldest with 76,200 ± 4,680 years, KK04 is 66,780 ± 4,050 years and KK01 is 47,720 ± 1,800. years. We can determine that this beach ridge forming during sea-level changes since Pleistocene and CK is 4,390 ± 190 years. It was forming during the regression of sea-level in the Holocene period. Main controlling factor is the longshore currents from North to South that supplies sediment to the coastal zone.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78408
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-031 - Sapon Sarub.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.