Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7841
Title: | การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร ที่มีผลต่อความวิตกกังวล ในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | An analysis of causal relationship on variables influencing test anxiety of mathayom suksa six students, Bangkok Metropolis |
Authors: | รังรอง งามศิริ |
Advisors: | สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ดิเรก ศรีสุโข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | sompoch.l@chula.ac.th, isompoch@hotmail.com Derek.s@chula.ac.th |
Subjects: | ความวิตกกังวล การสอบ การเรียน ความสามารถในตนเอง |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีผลต่อ ความวิตกกังวลในการสอบ และศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร จำนวน 594 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกใช้สำหรับการพัฒนารูปแบบ และกลุ่มที่ 2 ใช้สำหรับการทดสอบรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปร สังเกตได้โดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ และแบบวัด 8 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นแรกวิเคราะห์สถิติบรรยายเกี่ยวกับลักษณะภูมิหลัง ของกลุ่มตัวอย่าง แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการวัดตัวแปรแฝง หลังจากนั้นนำสัมประสิทธิ์คะแนนองค์ประกอบมาสร้างคะแนนองค์ประกอบ และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรมลิสเรล 8 ผลการวิจัยสรุปว่า รูปแบบตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ต้องปรับรูปแบบตามสมมุติฐานให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบที่ปรับใหม่ มีค่าไค-สแควร์ = 48.25 (Degree of freedom = 38, ระดับนัยสำคัญ = 0.12) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้มีค่า = 0.95 รูปแบบอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลในการสอบได้ร้อยละ 70 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความวิตกกังวลในการสอบ อย่างมีนัยสำคัญคือ ความคิดทางลบ และการรับรู้ความสามารถตนเองด้านการเรียน ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความวิตกกังวลในการสอบอย่างมีนัยสำคัญคือ นิสัยการเรียน อัตมโนทัศน์การเรียน และการรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครอง และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมต่อความวิตกกังวลในการสอบ อย่างมีนัยสำคัญคือ ความคิดทางลบ การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการเรียน นิสัยการเรียน อัตมโนทัศน์การเรียน และการรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครอง ผลการทดสอบรูปแบบ พบว่ารูปแบบที่ปรับใหม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ |
Other Abstract: | To develop the causal relationship model of test anxiety and to study the effect of the variables in the model. The sample consisted of 594 Mathayom Suksa six students studying in Bangkok Metropolis. This sample was randomly divided into 2 groups. The first group was used for developing the model and the second was used for testing the model. The observed variables were collected by using 3 questionnaires and 8 scales. Descriptive statistics were used to analyse the background of the sample. Confirmatory factor analysis was used to analyse the measurement model of latent variables and to create factor scores of latent variables from factor scores coefficient. The LISREL 8 program was used to analyse goodness of fit. The results were as follows : the hypothesized causal relationship model of test anxiety did not fit in with the empirical data. The hypothesized model was adjusted in order to fit in with the empirical data. The result of goodness of fit test showed that the adjusted model fitted in with the empirical data with chi-square = 48.25 (Degrees of freedom = 38, significant level = 0.12), AGFI = 0.95, and accounted for 70% of the variance in test anxiety. The variables significantly direct effect on test anxiety were negative thought, and academic self-efficacy. Study habit, academic self-concept, and perceived parent's expectation also had significantly indirect effect on test anxiety. The variables significantly total effect on test anxiety were negative thought, academic self-efficacy, study habit, academic self-concept, and perceived parent's expectation. The result of testing the model showed that the adjusted model fitted in with the empirical data. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7841 |
ISBN: | 9746386433 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungrong_Ng_front.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungrong_Ng_ch1.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungrong_Ng_ch2.pdf | 8.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungrong_Ng_ch3.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungrong_Ng_ch4.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungrong_Ng_ch5.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungrong_Ng_back.pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.