Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78503
Title: การวางแผนสร้างสรรค์สื่อออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้กะเพรา ในอาหารแช่แข็ง ในยุค Thailand 4.0
Other Titles: Social media creative planning to build awareness about holy basil in frozen food in the Thailand 4.0 era
Authors: วิภาวี บรรลือหาญ
Advisors: วรวีร์ โฮเว่น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กะเพรา
อาหารแช่แข็ง
สื่อสังคมออนไลน์
Holy basil
Frozen foods
Social media
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บริษัท ซีพีแรม จำกัด ดำเนินธุรกิจหลักในด้านอาหารปรุงสำเร็จและอาหารพร้อมรับประทาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น ซีพีแรม จึงนำหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ กระบวนการผลิตมีความปลอดภัยต่อทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมี ไม่นำไปสู่การสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้รับผลตอบแทนสูงคุ้มค่าแก่การลงทุน การปฏิบัติเช่นนี้จะนำไปสู่ความยั่งยืนในด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสร้างความรับรู้ทางสังคมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ GAP ในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตอาหาร ซีพีแรม ร่วมกับ บริษัท บางกอกอินโนเวชั่นเฮ้าส์ จำกัด มุ่งมั่นที่จะผลิตโซเชียลมีเดียที่เหมาะสมสำหรับ ยุค 4.0 ในรูปแบบซีรี่ส์สั้น ชื่อว่า “The Ingredient สร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบไทย” ซีรี่ส์ดังกล่าวจะเน้นเรื่องราวของ “กะเพรา” ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารปรุงสำเร็จและพร้อมรับประทานที่มีชื่อเสียง เรียกว่า “ผัดกะเพรา” ในซีรี่ส์นี้ประกอบไปด้วยจำนวน 3 คลิปวิดีโอ โดยขอบเขตของการวิจัยประกอบด้วย (1) การรวบรวมและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีและสรรพคุณของกะเพรา รวมถึงศึกษาศักยภาพในการนำไปวิจัยต่อยอดในด้านต่าง ๆ (2) การศึกษาเปรียบเทียบวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ปลูกกะเพราแบบใช้สารเคมีและปลอดสารเคมี และ (3) ดำเนินการในขั้นกระบวนการ ก่อนการผลิตสื่อออนไลน์ แนวคิดตลอดจนอารมณ์และโทนเสียงของซีรี่ส์ได้รับการอนุมัติจากซีพีแรมเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิตซีรี่ส์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2562 และสามารถเผยแพร่ได้ในช่วงต้นปี 2563
Other Abstract: CPRAM Company Limited of which business mainly focuses of pre-cooked and ready-to-eat food realizes the importance of SDGs. Therefore, CPRAM has adopted Good Agricultural Practices (GAP) in its business strategy aiming to produce products having good quality. The production process has to be safe for both farmers and consumers, free from chemical contamination, does not lead to environmental problem, uses the resources to their best benefit, and achieves high yield with worth of investment. Such practices would lead to sustainability in agriculture, environment, economy, and social. To build social awareness of how GAP is applied in the supply chain of its food production, CPRAM in partnership with Bangkok Innovation House Co. Ltd. aim to produce social media appropriate for 4.0 era in the form of a short series called “The Ingredient with increasing added value for Thai raw materials”. The series focus on “Holy basil”, one of the important ingredient in a famous pre-cooked and ready-to-eat meal called “Pad Ka Proud”. The series consist of 3 VDO clips and final footage. The scope of this research includes (1) review of chemical compositions and properties of Holy basil including its potential for further research and applications, (2) Comparative evaluation of life quality of farmers who grow Holy basil in the presence/absence of chemicals, and (3) Pre-production process of online media production. The concepts as well as moods and tones of the series have been approved by CPRAM. The series is now under production which is expected to be completed by the end of December 2019 and should be published in early 2020.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78503
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-012 - Wipavee Bunluehan.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.