Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78558
Title: การระบุชนิดด้วยดีเอ็นเอบาร์โค้ดและแหล่งที่อยู่อาศัยของลูกอ๊อด
Other Titles: DNA barcoding and habitat of tadpoles in Huai Hong Khrai watershed, Chiang Mai
Authors: พิชชาพร สร้อยกระโทก
Advisors: ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
นพดล กิตนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ลูกอ๊อด
ดีเอ็นเอ
Tadpole
DNA
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ ในประเทศไทยมีการศึกษาความหลากหลายของสัตว์กลุ่มนี้เป็นจำนวนมากโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นศึกษาในระยะตัวเต็มวัยเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ลูกอ๊อดหรือระยะตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อชุมชนสัตว์น้ำเช่นเดียวกัน โดยในบางชนิดอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งและบางชนิดอาศัยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล แต่กระนั้นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายชนิดยังคงมีข้อมูลของลูกอ๊อดอยู่น้อยมาก ด้วยลักษณะของสัณฐานวิทยาที่มีความแตกต่างกันไม่มากนักจึงทำให้ลูกอ๊อดยากต่อการนำมาระบุชนิด อย่างไรก็ตามเรายังคงสามารถใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดในการตรวจสอบชนิดได้ โดยหลังจากที่ระบุชนิดด้วยวิธีการอณูชีววิทยายังสามารถดำเนินการตรวจสอบแหล่งที่อยู่อาศัยต่อไปได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อตรวจสอบความหลากชนิดของลูกอ๊อดด้วยวิธีการทางดีเอ็นเอบาร์โค้ดและตรวจสอบแหล่งที่อยู่ของลูกอ๊อด โดยดำเนินการสำรวจภาคสนามในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ลูกอ๊อดถูกเก็บจาก 2 ระบบนิเวศ ประกอบด้วย พื้นที่น้ำนิ่งและพื้นที่น้ำไหล พร้อมกับการสำรวจลักษณะแหล่งที่อยู่อาศัยของลูกอ๊อดร่วมด้วย ยีน 16S mtDNA ถูกนำมาใช้เป็นดีเอ็นเอบาร์โค้ด จากนั้นจึงนำลำดับดีเอ็นเอของลูกอ๊อดมาเปรียบเทียบกับลำดับ ดีเอ็นเอของตัวเต็มวัยที่นำมาจาก GenBank ด้วยวิธีการ BLAST ก่อนนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการด้วยวิธีการ Maximum Likelihood ผลของการศึกษาพบลูกอ๊อดทั้งหมด 7 ชนิดประกอบด้วย Microhyla heymonsi, Microhyla mukhlersuri, Microhyla berdmorei, Sylvirana nigrovittata, Hoplobatrachus rugulosus, Fejervarya limnocharis และ Phrynoglossus martensii การสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยยังเผยให้เห็นว่า Fejervarya limnocharis และ Hoplobatrachus rugulosus อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ Microhyla berdmorei และ Sylvirana nigrovittata อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลเพียงอย่างเดียว จากผลของการศึกษาทั้งหมดสามารถแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาชีววิทยาของลูกอ๊อดและสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Other Abstract: Amphibians are important in various types of ecosystems. There were several studies on the diversity of amphibians in Thailand but most of them focus on only adult stage. Although, tadpoles of amphibian are also important in aquatic communities. Some species live in pond ecosystems others live in stream ecosystems. Nevertheless, several species of amphibians still have less information on their tadpoles. The morphological conserve in tadpoles makes them difficult to identify. However, we can use the DNA barcoding technique to investigate species of tadpoles. In addition, habitat usage is also important since different species has different habitat. Taking these into account, this study subjects to investigate species richness of tadpole using the DNA barcoding technique and examine the habitat of tadpoles. Field surveys were conducted during July to December 2020 in Huai Hong Khrai Watershed, Chiang Mai Province. Tadpoles were collected from two ecosystems including pond and stream. Habitats of each tadpole was also observed. The 16S mtDNA was used as a barcoding gene. Then tadpole sequences were compared with adult sequences from GenBank by BLAST. After those phylogenetic analyses were performed by using Maximum Likelihood method. The results show that there are seven species of tadpoles including Microhyla heymonsi, Microhyla mukhlersuri, Microhyla berdmorei, Sylvirana nigrovittata, Hoplobatrachus rugulosus, Fejervarya limnocharis and Phrynoglossus martensii. Habitat observation also reveals that Fejervarya limnocharis and Hoplobatrachus rugulosus live only in ponds, while Microhyla berdmorei and Sylvirana nigrovittata live only in streams. The overall result shed light on the importance of tadpole biology and support amphibian conservation.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78558
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-ZOO-017 - Pitchapron Soykratok.pdf44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.