Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78567
Title: การประยุกต์ใช้โครมาโตกราฟีแบบเยื่อบางเพื่อปรับปรุงการวิเคราะห์ ตัวอย่างน้ำหอมที่ซับซ้อนด้วยเทคนิค solid phase microextraction และ gas chromatography-mass spectrometry
Other Titles: Application of thin layer chromatography for improved analysis of complex perfume sample with solid phase microextraction and gas chromatography-mass spectrometry
Authors: ปาณิสรา เชษฐนรกุล
Advisors: ชฎิล กุลสิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: โครมาโตกราฟี
น้ำหอม -- การวิเคราะห์
Chromatographic analysis
Perfumes -- Analysis
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาวิธีการในการวิเคราะห์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ในการแยกสิ่งรบกวนต่อการวิเคราะห์สารระเหยง่ายในตัวอย่างน้ำหอม วิธีการนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำหอมที่มีเมทริกซ์ ของน้ำมันกฤษณาสังเคราะห์มารบกวน โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีแผ่นเคลือบบาง (TLC) ในการแยกสารบนแผ่นซิลิกาเจลและการเลือกตัดอย่างจำเพาะในบริเวณของแผ่นที่มีสารเป้าหมายก่อนการนำไปวิเคราะห์ต่อไป สภาวะ TLC ที่เลือกใช้คือ ระบบตัวทำละลายผสมระหว่างเฮกเซนและเอทิลอะซิเตต (อัตราส่วนปริมาตร 6: 1) และลดความซับซ้อนของตัวอย่าง โดยตัดแผ่น TLC อย่างจำเพาะออกเป็น 4 ส่วน ก่อนการสกัดสารระเหยง่ายโดยใช้เทคนิคการสกัดด้วย วัฏภาคของแข็งระดับจุลภาค (HS-SPME) เตรียมตัวอย่างเพื่อเลือกสกัดสารกลุ่มระเหยง่ายโดยการให้ความร้อนอุณหภูมิ 80˚C เป็นเวลา 15 นาที และวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี (GC-MS) ถ้าไม่ได้เตรียมตัวอย่างด้วยวิธี TLC ที่พัฒนาขึ้นมา พบว่าสารประกอบ Cyclohexene, 1-methyl-5-(1-methylethenyl)-,(R)-; 1-Propanol, 2-(2-hydroxypropoxy)-; γ-Terpinene; 7-Octen-2-ol, 2,6-dimethyl-; 2,4-Heptadienal, 2,4-dimethyl- และ cis-Thujopsene ในน้ำหอมถูกบดบังโดยสารประกอบ Limonene , Linalool, α-Ionone และ α -Guaiene จากเมทริกซ์ของน้ำมันกฤษณาสังเคราะห์ แต่เมื่อนำวิธี TLC มาประยุกต์แยกวิเคราะห์ 4 ส่วน ทำให้สามารถแยกวิเคราะห์และระบุพีคของสารในน้ำหอมจากการถูกบดบังของเมทริกซ์ได้สำเร็จ นอกจากนี้การนำเทคนิค TLC แบบจำเพาะมาใช้โดยตรงกับแก๊สอนาไลเซอร์ เครื่องวิเคราะห์แก๊สมาวิเคราะห์สารเป้าหมายบนแผ่น TLC อย่างจำเพาะโดยไม่ผ่าน HS-SPME เป็นการเสนอแนวทางในการวิเคราะห์สารประกอบให้กลิ่นเป้าหมายบนแผ่น TLC โดยตรงซึ่งเป็นวิธีการที่ง่าย รวดเร็วและใช้เครื่องมือราคาคุ้มค่า
Other Abstract: This study developed a simple, and effective method to remove the interferences from volatile compounds in perfume. The technique was applied for analysis of the perfume spiked into the synthetic agarwood sample with strong matrix interference by using thin layer chromatography (TLC) for separation and selective cut of the fraction containing target compounds on the silica gel plate prior to further analysis. Selected TLC condition was using hexane and ethyl acetate (6:1 volume ratio) solvent. The sample complexity was reduced by selective cuts of 4 regions. The target parts were then sampled by solid phase micro extraction (SPME) using 15 min extraction time and 80 C extraction temperature and analyzed by GC-MS analysis. Without the developed TLC approach, perfume compound peaks of Cyclohexene, 1 methyl-5--(1 methylethenyl)-,(R)-; 1-Propanol, 2-(2-hydroxypropoxy)-; γ-Terpinene; 7-Octen-2-ol, 2,6-dimethyl-; 2,4-Heptadienal, 2,4-dimethyl-, and cis-Thujopsene were not identified due to the interferences from the peaks of Limonene, Linalool, α-Ionone and α-Guaiene in the agarwood. Application of the developed TLC method allowed selective extraction and successful identification of these hindered perfume compounds from the matrix. Furthermore, the selective TLC extraction followed by direct detection of targeted odor compounds with Gas Analyzer without use of SPME was demonstrated. This method is thus simple, and fast with cost-effective instrument.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78567
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-033 - Panisara Chedth.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.