Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78628
Title: การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์วิตามินบี 12 ในผลิตภัณฑ์นมโดยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงสุด
Other Titles: Developed method for determination of Vitamin B12 by Ultra Performance Liquid Chromatography
Authors: เนื้อแพร พรหมหิตร
Advisors: สุรชัย พรภคกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: วิตามินบี 12 -- การสังเคราะห์
นมผง
Vitamin B12 -- Synthesis
Dried milk
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากปัญหาที่พบคือ ค่าการวิเคราะห์วิตามินบี 12 ในผลิตภัณฑ์นมของบริษัทไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ และผลการวิเคราะห์ของตัวแทนจำหน่าย โดยเฉพาะใน polyvitamin premixes ที่มีค่าตามข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ที่สูง อีกทั้งได้ผลการวิเคราะห์วิตามินบี 12 ไม่คงที่ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์วิตามินบี 12 โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงสุด เริ่มจากหาขั้นตอนการสกัดวิตามินบี 12 ในสภาวะที่เหมาะสม ในผลิตภัณฑ์นมผง มีการใช้ alpha-amylase ในปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อให้มี enzyme activity อยู่ในช่วงที่กำหนด ส่วนสำหรับใน premixes ได้เพิ่มการละลายโดยใช้น้ำในปริมาณมากขึ้น และการเจือจางความเข้มข้น นอกจากนี้ทดลองเติมและไม่เติม NaCN ในการสกัดผลิตภัณฑ์นมผง พบว่ามีผลต่อการเปลี่ยนวิตามินบี 12 ในรูปแบบอื่น ๆ ที่พบในธรรมชาติของนม ให้เป็น cyanocobalamin ส่วนใน premixes ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ต่อมาศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการจับกันระหว่าง monochonal antibody และ cyanocobalamin เป็นเวลา 5, 10, 15 นาที พบว่าในผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณวิตามินบี 12 น้อย เวลาไม่มีผลอย่างชัดเจน แต่ในผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณวิตามินบี 12 มาก การใช้เวลาในการเขย่าเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มได้ผลการทดลองที่ดีขึ้น รวมไปถึงตรวจสอบปริมาณเมทานอล สารที่ใช้ในการชะวิตามินบี 12 ออกจาก immunoaffinity gel column พบว่าการใช้เมทานอล 3 mL เพียงพอต่อการชะ และสุดท้ายตรวจสอบประสิทธิภาพของ immunoaffinity gel column ได้ %recovery เท่ากับ 98% เท่ากันเมื่อใช้สารมาตรฐานที่ระดับความเข้มข้น ต่ำ กลาง และสูง นอกจากนิ้วิธีการวิเคราะห์วิตามินบี 12 ของบริษัท Mead Johnson Nutrition กับบริษัทตัวแทนจำหน่าย แตกต่างในขั้นตอนของการเตรียมตัวอย่าง และภาวะของเครื่องโครมาโทรกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ค่าการวิเคราะห์ที่ได้ไม่สอดคล้องกัน จากการศึกษาหาสาเหตุที่ได้ผลวิเคราะห์ไม่สอดคล้องกันและได้ทำการพัฒนาขั้นตอนการวิเคราะห์ รวมทั้งการหาภาวะที่เหมาะสม ทำให้สามารถวิเคราะห์วิตามินบี 12 ได้ค่าทีดีขึ้น ผลการวิเคราะห์สอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ และถูกต้องแม่นยำตามหลักเกณฑ์ของ AOAC
Other Abstract: The encountered problem was that the analyzed result of vitamin B₁₂ in milk product did not comply with the specification of company’s product, and the result from the supplier especially in polyvitamin premixes containing amount of vitamin B₁₂. This work, therefore, focused on the development for determining the amount of vitamin B₁₂ by Ultra Performance Liquid Chromatography (UPLC). First, the appropriate condition for extraction of powdered milk products was invested. Also Alpha-amylase was used to maintain the enzyme activity within the desired range. For the premixes, solubility of vitamin B₁₂ was elevated by increasing amount of water for extraction and lowing concentration of the premixes. In addition, when determining natural vitamin B₁₂ forms in milk product, excess cyanide was added in order to convert the natural cobalamins into the cyano-form. However addition of cyanide in the extraction process of the premixes did not show the improvement. The appropriate time for the binding between monoclonal antibody and cyanocobalamin was studied for 5, 10, or 15 min. It was found that time for the binding in low-vitamin-B₁₂ product did not significantly effect, whereas, the longer shaking time for the high-vitamin-B₁₂ product trended to provide better result. The sufficient amount of methanol for eluting Vitamin B₁₂ from immunoaffinity gel column was 3 mL and percent recovery of vitamin B₁₂ from the efficiency of immunoaffinity gel column loading with low, medium, and high concentration of vitamin B₁₂ standard was 98%. Since the protocol provided by Mead Johnson Nutrition gave lower vitamin B₁₂ concentration than the supplier’s protocol, this study has point out the causes of disagreement in analysis results and also led to the improvement in the analysis of vitamin B₁₂ which related in more accuracy comply with AOAC and the better vitamin B₁₂ specification.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78628
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-007 - Nuaprae Prommahit.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.