Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78651
Title: ผลกระทบของมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ต่อการเคลื่อนตัวของสังกะสีและแคดเมียมในคอลัมน์ทรายอิ่มตัว
Other Titles: Impact of montmorillonite colloid on transport of zinc and cadmium in saturated sand column
Authors: อรกช เชาว์โพธิ์ทอง
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: มอนต์มอริลโลไนต์
ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- ปริมาณโลหะหนัก
แคดเมียม
สังกะสี
Montmorillonite
Sediments (Geology) -- Heavy metal content
Cadmium
Zinc
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ต่อการเคลื่อนตัวของสังกะสีและแคดเมียมโดยทดลองในคอลัมน์ทรายอิ่มตัว โดยสังกะสีและแคดเมียมที่ถูกดูดซับโดยอนุภาคคอลลอยด์จะถูกนำเข้าสู่คอลัมน์ทรายอิ่มตัวซึ่งจำลองภายใต้การไหลของชั้นน้ำบาดาลมีแรงดัน โดยได้ทำการทดลอง 3 คอลัมน์ ประกอบด้วย 2 คอลัมน์ของสังกะสีที่ค่าพีเอช 3 และ 6 และ 1 คอมลัมน์ของสังกะสีและแคดเมียมที่ค่าพีเอช 6 โดยคอลัมน์ของสังกะสีเดี่ยวใช้ความเข้มข้นของสังกะสีเท่ากับ 10 มิลลิกรัม/ลิตร และคอลัมน์ของโลหะผสมใช้สารละลายแคดเมียม (5 มิลลิกรัม/ลิตร) และสังกะสี (5 มิลลิกรัม/ลิตร) ที่ประกอบด้วยมอตน์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม/ลิตร สารละลายที่มีค่าพีเอชต่างกัน จะถูกสูบเข้าคอลัมน์จากด้านล่างสู่ด้านบนด้วยความเร็วคงที่ เท่ากับ 0.159 เซนติเมตรต่อนาที จากการทดลองพบว่า เมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้น จากพีเอช 3 เป็น 6 ทำให้ค่าคงที่ของฟรุนดริช (Freundlich constants, KF) ที่เพิ่มขึ้นจาก 3.42 เป็น 3.48 สำหรับ Equilibrium model และ 2.46 เป็น 3.01 สำหรับ Nonequilibrium model ดังนั้นการเคลื่อนตัวของสังกะสีจะลดลงเมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้น 3 เป็น 6 ในทางกลับกันค่า Retardation factor (Rf) ที่เพิ่มจาก 8.85% เป็น 38.69% เมื่อพีเอชเพิ่มจาก 3 เป็น 6 ตามลำดับ การดูดซับของสังกะสีและแคดเมียมในคอลัมน์ที่ผสมกันพบว่าต่ำกว่าคอลัมน์ที่มีสังกะสีเพียงตัวเดียว โดยค่า KF ของทั้งสังกะสีลดลงจาก 3.01 เป็น 2.62 และแคดเมียมลดลงจาก 3.14 เป็น 2.32 เนื่องจากในสารละลายมีธาตุโลหะที่เป็นประจุบวกเท่ากัน 2 ชนิด และเกิดการแย่งการถูกดูดซับโดยมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ ดังนั้นมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์จึงช่วยส่งเสริมการเคลื่อนที่ของสังกะสีและแคดเมียมเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบโลหะแต่ละชนิดอย่างเห็นได้ชัดเจน
Other Abstract: This study investigated the impacts of pH on co-transport of zinc (Zn), cadmium (Cd) and montmorillonite colloids through water-saturated sand column. The Zn-bearing montmorillonites and Zn-Cd-bearing montmorillonites were injected through the column containing saturated sand, which was simulated as a groundwater flowing under a pressure aquifer. There are three column experiments consisting of two columns of Zn at pH 3 and 6, as well as one binary metal (Zn and Cd) column at pH 6. The single metal column used 10 ppm of Zn and binary metal column experiment used mixed solution of Cd (5 ppm) and Zn (5 ppm) with 100 ppm of montmorillonite colloids. The solutions of different pH conditions were pumped to the column in upward mode at a constant velocity of 0.159 cm/min. According to column experiments, as the pH value increases from 3 to 6, it causes an increase of Freundlich constants (KF ) from 3.42 to 3.48 for the equilibrium model (Eq), and increase from 2.46 to 3.01 for the two-site model (TSM). The migration of Zn is decreased with increasing pH from pH 3 to pH 6. In other words, the retardation factor (Rf) increased from 8.85% to 38.69% when the pH increased from 3 to 6. Adsorption of mixed Zn and Cd at pH 6 appeared to be lower than those of the single heavy metal columns. For Zn, KF decreased from 3.01 to 2.62, while KF of Cd decreased from 3.14 to 2.32. Thus, the montmorillonite colloids facilitates the migration of Zn and Cd in the mixed system faster than those of each individual Zn and Cd.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78651
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-034 - Orakod Chaopotong.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.