Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78726
Title: | การผลิตเซลล์จุลินทรีย์ที่สร้างรงควัตถุด้วยน้ำทิ้งในอุตสาหกรรมอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือ เพื่อใช้ในการผลิตสารสีจากธรรมชาติ |
Other Titles: | Production of microbial pigment from food wastewater containing salt for use as natural coloring agent in food |
Authors: | กัญญภา กิจสิริรัตนกุล ณัฏฐนิตา เผ่าศรีเจริญ ยุทธพงค์ อิ่มเอิบ |
Advisors: | ชื่นจิต ประกิตชัยวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | จุลชีววิทยา -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ Microbiology -- Cultures and culture media |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงแบคทีเรีย Salinicoccus sp. ที่ผลิตรงควัตถุสีชมพู โดยประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเจริญและการสร้างรงควัตถุ ได้แก่ ค่า pH และความเข้มข้นเกลือ เพื่อใช้ในการ พัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อต้นทุนต่ำ เพาะเลี้ยง Salinicoccus sp. ในอาหารเหลว โดยการเขย่าด้วย Orbital Shaker 150 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้อง 30±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ติดตามการเพิ่มจำนวนเซลล์และปริมาณรงควัตถุ สีชมพู ในระหว่างการเพาะเลี้ยงที่เวลา 0, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ด้วยวิธี UV-visible spectrophotometric ที่ OD₆₀₀ และ OD₅₀₉ ตามลำดับ เมื่อเพาะเลี้ยงแบคทีเรียใน NB ที่ปรับ pH เป็น 6, 7, 8 และ 9 พบว่า OD₆₀₀ และ OD₅₀₉ มีค่าสูงสุดที่ pH 8 (p<0.05) เมื่อเพาะเลี้ยงเชื้อใน NB ที่ pH 8 และแปรระดับความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 3, 5 และ 10% (w/v) พบว่า OD₆₀₀ และ OD₅₀₉ มีค่าสูงสุดที่ความเข้มข้น 10% (w/v) (p<0.05) เมื่อเพาะเลี้ยงเชื้อใน สูตรอาหาร ได้แก่ สูตรที่ 1; 1% peptone water และปรับความเข้มข้นสุดท้ายของไนโตรเจนให้เป็น 0.4% ด้วยน้ำปลา, สูตรที่ 2; 1% peptone water และปรับความเข้มข้นสุดท้ายของไนโตรเจนให้เป็น 0.4% ด้วยซีอิ๊ว, สูตรที่ 3; น้ำปลา เจือจาง 0.4% ไนโตรเจน และสูตรที่ 4; ซีอิ๊วเจือจาง 0.4% ไนโตรเจน โดยทั้ง 4 สูตรแปรการเติมกลูโคส 1% และไม่เติม กลูโคส และทุกสูตรปรับ pH เท่ากับ 8 และปรับค่าความเข้มข้นเกลือสุดท้ายให้เป็น 10% (w/v) พบว่าการเพาะเลี้ยง ในอาหารเลี้ยงเชื้อสูตรที่ 2 ที่ไม่เติมกลูโคส Salinicoccus sp. สามารถเพิ่มจำนวนและผลิตรงควัตถุสีชมพูได้เท่ากับ สูตรควบคุม (NB, pH8 และ NaCl 10% (w/v)) (p<0.05) และพบว่าการเพาะเลี้ยง Salinicoccus sp. ในอาหารทุกสูตร ที่เติมกลูโคส Salinicoccus sp. จะเพิ่มจำนวนเซลล์และสร้างปริมาณรงควัตถุต่ำกว่าสูตรที่ไม่ได้เติมกลูโคส 1% (w/v) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) |
Other Abstract: | The objective of this research was to develop a cultural medium for cultivation of Salinicoccus sp. to produce pink pigment. Factors associated to growth and pigmentation rates including pH and salt concentration were investigated for development of the cost-effective cultivation medium. Salinicoccus sp. was cultivated in standard medium (NB), orbitally shaken 150 rpm at room temperature 30 ± 2 ° C, for 72 hours. Cell population and pink pigment content were determined at 0, 24, 48, and 72 hours by conduction of Total Plate Count (TPC) and UV-visible spectrophotometric methods at OD₆₀₀ and OD₅₀₉, respectively. When cultivated in NB with pH 6, 7, 8 and 9, the OD₆₀₀ and OD₅₀₉ of Salinicoccus sp. were highest at pH 8 (p<0.05). In NB with pH 8, supplemented with NaCl at 3, 5, and 10% (w/v), the OD₆₀₀ and OD₅₀₉ of Salinicoccus sp. were highest at the 10%. Salinicoccus sp. was cultivated in four costeffective cultivation medium formulated from 1% peptone water and adjust the final nitrogen concentration to 0.4% with fish sauce as Formula 1; 1% peptone water and adjust the final nitrogen concentration to 0.4% with soy sauce as Formula 2, Fish sauce, diluted 0.4% nitrogen as Formula 3 and Soy sauce, diluted 0.4% nitrogen as Formula 4. All formulas were adjusted pH at 8, supplemented with 10% salt (w/v) and 1% glucose and no glucose. Formula 2 which was not added glucose, Salinicoccus sp. , was able to grow and produce of pink pigment content similar to the control formula (NB, pH8 and NaCl 10% (w /v)) (p<0.05). All formulas which were added glucose, Salinicoccus sp. has growth and pigmentation rates significantly lower than all formulas which were not added glucose (p<0.05). |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78726 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-FOOD-002 - Natthanita Phaosricharoen.pdf | 31.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.