Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78844
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สริสา ณ ป้อมเพ็ชร์ | - |
dc.contributor.author | ศิรประภา เหล่ามูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-06-16T07:29:16Z | - |
dc.date.available | 2022-06-16T07:29:16Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78844 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | การสังเคราะห์อนุภาคทองคานาโน (gold nanoparticles: AuNPs) ด้วยจุลินทรีย์หรือสารสกัดของจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด ยีสต์และรา ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสังเคราะห์อนุภาคทองคานาโนจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อราสามารถทนความเข้มข้นของโลหะได้มากกว่าเมื่อเทียบกับแบคทีเรีย สามารถหลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์และผลิตโปรตีนได้ในปริมาณมาก ซึ่งสารชีวโมเลกุลเหล่านี้มีความสามารถรีดิวซ์ไอออนอนุภาคทองประจุบวก (Au³⁺) ไปเป็นอนุภาคทองคานาโน (Au⁰: AuNP) ได้ อีกทั้งกระบวนการสังเคราะห์อนุภาคทองคานาโนจากวิธีการทางชีวภาพเหล่านี้ใช้ต้นทุนน้อย มีความเป็นพิษต่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้สังเคราะห์อนุภาคทองคานาโนจากเชื้อรา Aspergillus niger MSCU 0361 และศึกษาประสิทธิภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายสีย้อมเมทิลีนบลู โดยผลการวิเคราะห์โดยใช้ UV-visible spectrophotometer พบว่าอนุภาคทองคานาโนที่สังเคราะห์ขึ้นได้ มีค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดอยู่ที่ 558 นาโนเมตร และเมื่อทาการวิเคราะห์ผลด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscope: TEM) พบว่าอนุภาคทองคานาโนมีหลายรูปร่าง เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก และมีการกระจายตัวของขนาดที่หลากหลาย เมื่อทาการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค dynamic light scattering (DLS) พบว่าขนาดของอนุภาคทองคานาโนที่สังเคราะห์ได้มีขนาดเฉลี่ย 60.74 นาโนเมตร และมีค่าศักย์ซีต้า (zeta potential) เท่ากับ -17.4 มิลลิโวลต์ แสดงให้เห็นว่าบนพื้นผิวของอนุภาคทองคานาโนมีประจุเป็นลบ เมื่อศึกษาถึงความสามารถในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของอนุภาคทองคานาโนในการย่อยสลายสีย้อมเมทิลีนบลู โดยทาการวัดค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดที่ช่วงความยาวคลื่น 664 นาโนเมตร พบว่าชุดควบคุมที่ใส่ ascorbic acid เป็นตัวรีดิวซ์เพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพในการเกิดปฏิกิริยาย่อยสลายสีย้อมได้ดีกว่าเมื่อใส่ ascorbic acid และอนุภาคทองคานาโน ทั้งนี้กลไกการใช้อนุภาคทองคานาโนเพื่อย่อยสลายสีย้อมยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | The synthesis of gold nanoparticles (AuNPs) using microorganisms such as bacteria, mushrooms, yeasts, fungi as well as their cell-free extracts has been trending in recent years. Fungi have gained popularity as sources for the biosynthesis because they can tolerate higher metal concentrations compared to bacteria do. Moreover, fungi generally secrete abundant extracellular enzymes and proteins that can reduce gold ion (Au³⁺) to gold nanoparticle (Au⁰: AuNP). The biosynthesis of AuNP is a low-cost process with less toxicity and great environmental friendliness. In this study, we synthesized AuNP from Aspergillus niger MSCU 0361 and evaluated its efficiency as a catalyst for dye degradation of methylene blue. The UV-visible spectroscopy result showed the maximum absorbance at 558 nm. The transmission electron microscope (TEM) micrograph displayed various shapes of AuNP such as sphere and cylinder, and a broad size distribution of AuNP was observed. The average size of AuNP reported by dynamic light scattering (DLS) was 60.74 nm. The zeta potential was -17.4 mV, indicating negative charge on the surface of AuNP. The catalytic activity of AuNP for methylene blue degradation was investigated by measuring maximum absorbance at 664 nm. The result showed that the control, which contained only ascorbic acid as a reducing agent, had better dye degradation efficiency than the reaction mixed with ascorbic acid and AuNP. However, to understand the mechanism behind the dye degradation using AuNP, further study is needed. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อนุภาคนาโน | en_US |
dc.subject | ทอง | en_US |
dc.subject | เชื้อรา | en_US |
dc.subject | Nanoparticles | en_US |
dc.subject | Gold | en_US |
dc.subject | Fungi | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้อนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้จากวิธีการทางชีวภาพเพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายสีย้อม | en_US |
dc.title.alternative | An Application of Biosynthesized Gold Nanoparticle as a Catalyst for Dye Degradation | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MICRO-001 - Siraprapha Laomoon.pdf | 41.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.