Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78876
Title: การตรึงหัวเชื้อแบคทีเรียผสมบนเศษพลาสติกชีวภาพเพื่อใช้ส่งเสริมการเจริญ ของต้นกล้าอ้อยในสภาวะแล้ง
Other Titles: Immobilization of mixed bacteria on bioplastic scrap for promoting sugarcane growth during drought conditions
Authors: ภาณุมาศ เมืองวุฒฑานันท์
Advisors: เอกวัล ลือพร้อมชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: อ้อย -- การปลูก
วิทยาแบคทีเรียทางการเกษตร
Sugarcane -- Planting
Bacteriology, Agricultural
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อ้อย (Sugarcane, Saccharum officinarum L.) จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย แต่พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้เมื่อเกิดภัยแล้งขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตของอ้อย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะใช้แบคทีเรียที่ส่งเสริมการเจริญของพืช ได้แก่ Bacillus thuringiensis B2, Bacillus stratosphericus L19 และ Bacillus altitudinis T17 และแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ ได้แก่ Weissella cibaria PN3 มาช่วยส่งเสริมการเจริญของอ้อยภายใต้สภาวะแล้ง โดยจะเตรียมแบคทีเรียในรูปของหัวเชื้อผสมแบบตรึงกับวัสดุ เพื่อช่วยให้แบคทีเรียสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น โดยงานวิจัยนี้เลือกใช้พลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic acid (PLA) มาตรึงแบคทีเรีย เนื่องจาก PLA เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ทั่วไป และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยได้นำ PLA มาตัดให้เป็นชิ้นเล็กขนาด 6 มิลลิเมตร ก่อนจะนำมาใช้เป็นวัสดุตรึงแบคทีเรีย เมื่อนำ PLA ที่มาดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าแบคทีเรียเกาะบน PLA ได้ไม่ค่อยดี และเมื่อทำการทดลองย่อยสลาย PLA ในดินชนิดต่างๆ พบว่า PLA ที่ฝังในดิน 21 สัปดาห์ ย่อยสลายไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงนำ PLA มาผสมกับวัสดุตรึงชนิดอื่น ได้แก่ ถ่านชีวภาพ, เถ้าลอย และกากเนื้อในเมล็ดปาล์ม เพื่อใช้เป็นวัสดุตรึงผสม 4 ชนิด เปรียบเทียบกับวัสดุตรึงผสมแบบ 3 ชนิด ที่ไม่เติม PLA พบว่าอัตราการมีชีวิตรอดของแบคทีเรียในวัสดุตรึงผสมทั้ง 2 แบบมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 1010-1011 CFU ต่อกรัมของวัสดุตรึงแสดงให้เห็นว่า PLA สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับตรึงเชื้อแบคทีเรียได้ และเมื่อนำวัสดุที่ตรึงแบคทีเรียผสมแบบ 3 และ 4 ชนิด มาผสมลงในดินที่ใช้ปลูกอ้อย และให้น้ำเป็นเวลา 11 วัน พบว่าการเจริญของต้นอ้อยให้ผลไม่ต่างกัน ทั้งความยาวใบ และความยาวลำต้น เมื่อเทียบกับต้นอ้อยในวันที่เริ่มลงปลูก (วันที่ 0) แสดงว่า PLA ไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญของอ้อยและช่วยลดปริมาณของวัสดุตรึงอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรทดลองเพิ่มเติม โดยรดน้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และจำลองสภาวะแล้งด้วยการงดให้น้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงเก็บผลการทดลองได้แก่ ความยาวใบ ความยาวลำต้น และความยาวรากของต้นอ้อย รวมถึงปริมาณของแบคทีเรียบริเวณรอบพื้นผิวราก เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของวัสดุตรึงที่ประกอบด้วย PLA ในการส่งเสริมการเจริญของต้นกล้าอ้อยในสภาวะแล้งต่อไป
Other Abstract: Sugarcane (Saccharum officinarum L.) is one of the important economic crops in Thailand. The sugarcane is mostly cultivated outside the irrigated area, thus the sugarcane yields can affect by drought condition. Therefore, this study interested to use plant growth promoting rhizobacteria (Bacillus thuringiensis B2, Bacillus stratosphericus L19 and Bacillus altitudinis T17 and a biosurfactant producing bacterium (Weissella cibaria PN3) to enhance drought tolerance of sugarcane. The mixed bacterial inoculum was immobilized in solid materials to prolong its survival in the environment. In this study, polylactic acid (PLA) bioplastics was selected for immobilizing bacteria because PLA is a commonly used packaging products and can decompose naturally. To immobilize the bacteria, PLAs were cut into small pieces (6 mm) and immobilized with prepared bacterial culture. The immobilized PLAs were observed for bacterial attachment by scanning electron microscope (SEM). The result showed that the bacteria did not attach well on PLAs surface. In addition, the degradation of PLAs was evaluated in different types of soil. The results showed that the PLAs partially degraded in all soil samples after 21 weeks. The study therefore mixed PLAs with other 3 carriers (i.e. biochar, fly ash and palm kernel cake) before bacterial immobilization and compared with the treatment containing 3-mixed carriers without PLA. The results show that the survival rate of bacteria in both treatments were similar at 1010-1011 CFU/g carrier, so PLA could be used as material for immobilized PGPR bacteria. When applying the immobilized bacteria in 3- and 4-mixed carriers in sugarcane soils and watering for 11 days, the result showed that the growth of sugarcane as seen from leaf and stem lengths was not different from sugarcane on day 0. Consequently, PLA did not impact to sugarcane growth and could reduce the amounts of other carriers. Therefore, additional experiments should be conducted by watering the sugarcane for 2 weeks and stop watering for 2 weeks to simulate the drought conditions. Then, the length of leaf, stem and root and the number of bacteria around the root surface should be measured to prove the efficiency of carrier containing PLA.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78876
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-026 - Panumas Muang.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.