Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7889
Title: การศึกษาเปรียบเทียบหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ไทยและญี่ปุ่นในระดับประถมศึกษา
Other Titles: A comparative study of elementary school mathematics textbooks between Thai and Japan
Authors: ปราณี รักไทยแสนทวี
Advisors: น้อมศรี เคท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Normsri.C@Chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- แบบเรียน -- ไทย
คณิตศาสตร์ -- แบบเรียน -- ญี่ปุ่น
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ไทยและญี่ปุ่น ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในด้านเนื้อหา ด้านวิธีการ และด้านรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านเนื้อหา เนื้อหาคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และ 6 ของไทย เป็นเรื่องการบวก การลบ การคุณและการหารมากที่สุด ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของไทยเป็นเรื่องของการวัดความยาว พื้นที่ และปริมาตรมากที่สุด ส่วนเนื้อหาในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของญี่ปุ่น เป็นเรื่องการบวก การลบ การคูณและการหารมากที่สุด เนื้อหาในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของญี่ปุ่น เป็นเรื่องทศนิยมมากที่สุด เนื้อหาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของญี่ปุ่น พบเรื่องการวัดความยาว พื้นที่ และปริมาตรมากที่สุด สมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของไทยและญี่ปุ่น เป็นเรื่องความเข้าใจมากที่สุด จิตพิสัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของญี่ปุ่นมีมากกว่าของไทย 2.ด้านวิธีการ ประเภทของคำถามในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของไทยเป็นคำถามทักษะมากที่สุด ประเภทของปัญหาทางคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ของญี่ปุ่นเป็นคำถามทักษะมากที่สุด ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของญี่ปุ่นเป็นโจทย์ปัญหาการแปลความที่ง่ายมากที่สุด รูปแบบแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ของไทยเป็นรูปแบบการเติมตัวเลขหรือการหาคำตอบมากที่สุด ส่วนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นรูปแบบการแสดงวิธีทำหรือการแสดงวิธีแก้สมการมากที่สุด รูปแบบแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของญี่ปุ่นเป็นรูปแบบการเติมตัวเลขหรือการหาคำตอบมากที่สุด รูปแบบการนำเสนอสาระในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของไทยและญี่ปุ่นเป็นแบบฝึกหัดมากที่สุด 3. ด้านรูปแบบ ขนาดของรูปเล่มของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของไทยมีขนาดหนากว่าของญี่ปุ่น กระดาษทำปกหน้าและปกหลังของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของไทยเป็นกระดาษอาร์ตหน้าเดียว ส่วนของญี่ปุ่นเป็นกระดาษการ์ด กระดาษปกหน้าด้านในและกระดาษเนื้อในเล่มของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของไทยเป็นกระดาษปรู๊ฟ ส่วนของญี่ปุ่นเป็นกระดาษปอน์ด
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the elementary school mathematics textbooks of grade 1-6 between Thai and Japan. The comparative study was conducted in 3 perspectives: (1) Content consisted of performance expectations and affective domain. (2) Presentation of content consisted of types of problems, type of exercises and types of presentation of content and (3) Format. The findings were as follows: 1. In terms of the content in the elementary school mathematics textbooks of grade 1-6 of Thailand, addition, substraction, multiplication and division were found to be presented most. In grade 5, measurement, area and volume were found to be presented most. In terms of the content in the Japanese elementary school mathematics textbooks of grade 1-3, addition, substraction, multiplication and division were also found to be presented most. In grade 4, decimal was found to be presented most. In grade 5-6, measurement, area and volume was emphasized most. In terms of the performance expectations for mathematics of grade 1-6, understanding was emphasized most in Thai and Japanese textbooks. According to affective domain on mathematics of grade 1-6, the Japanese textbooks emphasized both promoting interest in mathematics and cultivating an inquiring mind more than mathematics textbooks of Thailand. 2.In terms of types of problems presented in Thai textbooks of grade 1-6, drill exercises were found most. Types of problems presented in the Japanese textbooks of grade 1-5, drill exercises were emphasized most. However in grade 6, simple translation problems were emphasized most. In terms of types of exercises, filling numbers or finding answers were found most in the Thai elementary school mathematics textbooks of grade 1-5. In grade 6, algorithm and solving equation were emphasized. Types of exercises in the Japanese textbooks of grade 1-6, filling numbers or finding answers were emphasized most. According to types of presentation of content in both Thai and Japanese textbooks of grade 1-6, exercises were found most. 3.In terms of format, the Thai textbooks of grade 1-6 were found larger and thicker than her counterpart. Front cover and back cover of all grades were made of art paper while the front cover and back cover of Japanese textbooks of grade 1-6 were made of card paper. Title page and text paper of Thai textbooks of grade 1-6 were made of proof paper but Japanese textbooks of all grades were made of bond paper.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7889
ISBN: 9746358456
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_Ra_front.pdf779.23 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ra_ch1.pdf759.04 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ra_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ra_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ra_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ra_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ra_back.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.