Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78906
Title: | การหาอายุอิฐด้วยวิธีการเปล่งแสงจากปราสาทไบแบก จังหวัดบุรีรัมย์ |
Other Titles: | Luminescence dating of bricks from bibag castle, Buriram province |
Authors: | ปริญญากรณ์ สนพิพัฒน์ |
Advisors: | สันติ ภัยหลบลี้ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | การกำหนดอายุทางโบราณคดี -- ไทย -- บุรีรัมย์ การขุดค้นทางโบราณคดี -- ไทย -- บุรีรัมย์ อิฐ -- การกำหนดอายุ ปราสาทไบแบก (บุรีรัมย์) Archaeological dating -- Thailand -- Buriram Excavations (Archaeology) -- Thailand -- Buriram Bricks -- Age determination Bibag castle (Buriram) |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปราสาทไบแบก ตั้งอยู่ที่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นายสันติ อุทุมพร นายกเทศมนตรี ตำบลจันทบเพชร ได้กล่าวว่าจากข้อมูลและหลักฐานที่พบนั้น สันนิษฐานว่าปราสาทไบแบก มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ลักษณะพิเศษของปราสาทไบแบกนี้คือ เป็นปราสาทหินสองสี เนื่องจากในอดีต ผู้สร้างปราสาทได้เลือกหินทรายอันมีผลึกแร่ควอตซ์ที่ส่องแสงประกายคล้ายเพชรปนอยู่ แล้วนำมาขัดตกแต่งทำเป็นก้อนขนาดเดียวกับก้อนอิฐ มาก่อเรียงเป็นตัวปราสาท แต่ทำได้ช้า จึงเปลี่ยนมาใช้เทคนิคการก่ออิฐประสานด้วยน้ำยางเคมีโบราณ ซึ่งตั้งแต่ผนังช่วงบนขึ้นไปจะก่อด้วยอิฐดินเผาไม่สอปูน อิฐแนบสนิทกัน มีร่องรอยการใช้ปูนขาวตำฉาบและตกแต่งผิวด้านนอก และใช้หินทรายเป็นส่วนค้ำยันโครงสร้างรับน้ำหนัก ในปัจจุบันยังไม่ทราบอายุในการสร้างปราสาทไบแบกที่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว นิสิตผู้จัดทำโครงการซึ่งมีความสนใจทางด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทไบแบกประกอบกับความต้องการประยุกต์ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาเข้ากับประวัติศาสตร์ จึงมีความสนใจที่จะทำการทดลองเพื่อหาอายุอิฐจากประสาทไบแบกด้วยวิธีการเปล่งแสงและนำผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ มาทำการวิเคราะห์เทียบเคียงกับข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อทำการสรุปและอภิปรายผลถึงลำดับเหตุการณ์การสร้างและการบูรณะของปราสาทไบแบกได้ จากหลักการเบื้องต้นของการหาอายุด้วยวิธีการเปล่งแสงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุอิฐได้ โดยผู้จัดทำโครงงานทำการศึกษาตัวอย่างอิฐจากปราสาทไบแบกทั้งหมด 4 ตัวอยาง โดยทำการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดลองหาค่า Equivalent dose (ED) และ Annual dose (AD) ด้วยเครื่อง TL/OSL reader และ Gamma-ray spectrometer ตามลำดับ แล้วนำผลการทดลองที่ได้มาวิเคราะห์ผลพบว่า แต่ละตัวอย่างมีการกระจายตัวของอายุอยู่ที่ 800 ปี ก่อนปัจจุบัน โดยตรงกับในพุทธศตวรรษที่ 18 และตัวอย่าง BB04 ส่วนที่แรเงาในตารางนั้นเป็นส่วนที่เป็นคาบเกี่ยวช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับข้อมูลที่อ้างอิงจากประวัติศาสตร์ตามที่ นายสันติ อุทุมพร นายกเทศมนตรีตำบลจันทบเพชร อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ได้กล่าวว่าจากข้อมูลและหลักฐานที่พบนั้นสันนิษฐานว่าปราสาทไบแบก มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 |
Other Abstract: | Bibag castle is in Chanthabphet Sub-district, Ban Kruat District, Mr. Santi Uthumporn, Mayor of Chanthabphet Sub-district Said that from the information and evidence found It is assumed that the Bibag castle. Age around the 16th to 17th century, A two-colored stone castle Because in the past. The castle's builders chose a sandstone with a shimmering diamond-like quartz crystal. Then polished to make cubes of the same size as bricks come to form a castle, but can be slow, so they switched to brickcement techniques with ancient chemicals. Which from the top of the wall is made of clay bricks, not spongy bricks close together. At present, the exact age of the construction of Bibag castle is currently unknown. As they are not recorded in history. From such issues students who are interested in the history of Bibag castle with a need to apply their knowledge of geochronology. Therefore, interested in conducting experiments to find the age of bricks from Bibag castle by the method of luminescence dating and bringing the results of scientific experiments Let's make an analysis comparing it with archaeological and historical data. From the basic principle of luminescence dating determination, it can be applied to determine the age of bricks. Preparing samples for determination of Equivalent dose (ED) and Annual dose (AD) with TL / OSL reader and Gamma-ray spectrometer, respectively, and the results were analyzed. Each sample had an age distribution of 800 years before the present. Directly with the 18th century Buddhist example and the BB04 example, the shaded part in the table is a part that overlaps the 17th century Buddhist era, which is closely related to historical data according to Mr. Santi Uthumporn, Mayor of Chanthabphet Sub-district said that from the information and evidence found that It is assumed that the Bibag castle. Age around the 16th to 17th century. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78906 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-GEO-007 - Parinyakorn Sonphiphat.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.