Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79007
Title: Biodegradation of leaf compost by thermophilic cellulolytic bacteria isolated from compost
Other Titles: การย่อยสลายทางชีวภาพของปุ๋ยหมักใบไม้โดยใช้แบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลสที่ชอบอุณหภูมิซึ่งคัดแยกจากกองปุ๋ยหมัก
Authors: Chavisa Sathirawisankit
Advisors: Supawin Watcharamul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Organic fertilizers -- Biodegradation
Cellulose -- Biodegradation
ขยะอินทรีย์ -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
เซลลูโลส -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aims to isolate and screen bacteria with degrading cellulose at high temperature capacity and to investigate the effectiveness of isolated bacteria in fresh leaf compost degradation. Bacteria were isolated from 4 types of leaf compost consisting of compost Day 7, Month 1, Month 2, and Month 3 which the main raw material of composting was leaf debris collected from Chulalongkorn University. Bacterial strains were isolated using carboxymethyl cellulose (CMC) media, and 79 bacterial strains were obtained. After that, cellulolytic bacteria were screened using Gram’s iodine technique. There were 44 strains of bacteria can decompose cellulose at high temperatures (60ºC). Cellulolytic bacteria were screened by observing the presence of clear zone around each bacterial colony. Hydrolysis capacity (HC) values, which is calculated from the diameter of the clear zone of all 44 strains were analyzed statistically to rank HC values from all bacteria strains. It was found that 11 bacterial strains had greater HC value than the third quartile and D08 showed the highest HC value at 4.92. All 11 bacterial strains were selected for the cellulase assay to assess which bacterial strain had the highest degradability and used for investigating the efficiency in fresh leaf compost decomposition. Due to the epidemic of Covid-19 in Thailand unfortunately, this study was unable to achieve all the proposed objectives.
Other Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียมีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสได้ที่อุณหภูมิสูง และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดแยกและคัดเลือก ในการย่อยสลายปุ๋ยหมักใบไม้ แบคทีเรียถูกคัดแยกจากปุ๋ยหมักใบไม้ 4 ชนิด ประกอบด้วยปุ๋ยหมักอายุ 7 วัน 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน โดยเป็นปุ๋ยหมักจากใบไม้ที่เก็บรวบรวมจากภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการคัดแยกเชื้อแบคทีเรียโดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อแข็งที่มีคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสเป็นแหล่งอาหารสำหรับจุลินทรีย์ ได้แบคทีเรียมาทั้งสิ้น 79 สายพันธุ์ หลังจากทำการคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลส โดยการย้อมสีอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งด้วยสารละลายไอโอดีน พบว่ามีแบคทีเรีย 44 สายพันธุ์ที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสที่อุณหภูมิสูงได้ โดยอุณหภูมิซึ่งใช้ในการคัดและคัดเลือก ตลอดจนการทดสอบการย่อยสลายกำหนดไว้ที่ 60 องศาเซลเซียส แบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสได้สามารถสังเกตได้จากการปรากฎวงใสรอบโคโลนีของแบคทีเรีย ค่าความสามารถในการย่อยสลายซึ่งคำนวณจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงดังกล่าวของแบคทีเรียทั้ง 44 สายพันธุ์ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อจัดลำดับความสามารถในการย่อยสลายของแบคทีเรีย พบว่ามีแบคทีเรียทั้งสิ้น 11 สายพันธุ์ที่มีค่าความสามารถในการย่อยสลายสูงกว่าควอร์ไทล์ที่ 3 และแบคทีเรียสายพันธุ์ D08 มีค่าความสามารถในการย่อยสลายสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 4.92 แบคทีเรียทั้ง 11 ชนิดถูกเลือกเพื่อทำการศึกษากิจกรรของเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อประเมินว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ใดมีความสามารถในการย่อยสลายสูงที่สุด และจะถูกนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการย่อยสลายปุ๋ยหมักใบไม้แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้ไม่สามารถดำเนินการศึกษาต่อจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ครบ
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79007
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ENVI-012 - Chavisa Sathirawisankit.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.