Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79054
Title: Disintegration test of poly(lactic acid) and some of its based polymer buried in soil
Other Titles: การทดสอบการสลายตัวของพอลิแลคติกแอซิดและพอลิเมอร์ฐานโดยวิธีการฝังดิน
Authors: Tanawan Chonsuwan
Advisors: Roongkan Nuisin
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Polylactic acid -- Biodegradation
กรดโพลิแล็กติก -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Biodegradation test of poly(lactic acid) and cellulose coated with poly(lactic acid) (PLA) by dip-coating technique at the duration of 10, 20 and 40 minutes by burial in the soil. Experimental was tested by buried in soil in at aerobic condition in 45 day at room temperature. Following the experimental by visual observation, changing of thickness, weight loss technique and analytical of changing of functional groups. The study of morphology of sample found that the black spots on the surface of filter paper and filter paper coated with poly(lactic acid) for 10 minutes. The study of physical characteristics found that the filter paper had the highest change in thickness. The most changing of thickness of the paper coated with PLA is the paper coated with poly(lactic acid) at the duration of 10, 20 and 40 minutes, respectively. Swelling behavior of the sample gave the similar trend as the changing of thickness. The higher percentage of coating poly(lactic acid), resulting in decreased swelling behavior. The weight loss of filter paper is highest. FTIR showed that the characteristics functional groups of PLA in form of wavenumber 2996 cm⁻¹ (C-H), 1748 cm⁻¹ (C=O) and 1080 cm⁻¹ (C–O). Functional group analysis of paper coated with poly(lactic acid) at 40 minutes of dip-coating time found that the functional group of samples same as poly(lactic acid). After 45 days, both types of samples did not change the functional groups. Due to samples were tested in a short time. Therefore, the functional groups were not changed.
Other Abstract: ทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของพอลิแลกติกแอซิด และเซลลูโลส ที่เคลือบพอลิแลกติกแอซิด (PLA) ด้วยวิธีการจุ่มเคลือบที่ระยะเวลา 10, 20 และ 40 นาที ด้วยวิธีการฝังดิน ทดลองโดยทำการฝังดินในสภาวะมีออกซิเจน ระยะเวลาในการทดลอง 45 วัน ที่อุณหภูมิห้อง ติดตามกระบวนการโดยการสังเกต การเปลี่ยนแปลงสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงความหนา น้ำหนักที่หายไปและการเปลี่ยนวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหมู่ฟังก์ชันทางเคมี ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำตัวอย่างการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยา พบว่าเกิดจุดสีดำบริเวณผิวหน้าของกระดาษกรองและกระดาษกรองที่ผ่านการเคลือบด้วยพอลิแลกติกแอซิดเป็นระยะเวลา 10 นาที นอกจากนี้ยังพบจุดสีขาวบริเวณผิวหน้าของพอลิแลกติกแอซิด การศึกษาลักษณะทางกายภาพพบว่า กระดาษกรองมีการเปลี่ยนแปลงความหนามากสุด ส่วนกระดาษที่เคลือบด้วย พอลิแลกติกแอซิด มีการเปลี่ยนแปลงความหนาจากมากไปน้อย คือ กระดาษที่เคลือบด้วย PLA ที่ระยะเวลา 10, 20 และ 40 นาที ตามลำดับ นอกจากนี้การทดสอบพฤติกรรมการบวมตัวของตัวอย่างให้ผลเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงความหนาคือ ร้อยละ การเคลือบของพอลิแลกติกแอซิดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมการบวมตัวลดลง การทดสอบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ร้อยละน้ำหนักที่หายไปพบว่าเพิ่มขึ้นจากค่าเริ่มต้น โดยกระดาษกรองเพิ่มขึ้นมากที่สุด การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหมู่ฟังก์ชั่นด้วยวิธี FTIR พบหมู่ฟังก์ชันที่สำคัญของพอลิแลกติกแอซิด คือ ที่เลขคลื่น 2996 cm⁻¹ (C-H), 1748 cm⁻¹ (C=O) และเลขคลื่น 1080 cm⁻¹ (C–O) กระดาษที่เคลือบด้วยพอลิแลกติกแอซิดที่ระยะเวลา 40 นาที พบว่ามีกลุ่มฟังก์ชั่นที่สำคัญเช่นเดียวกับพอลิแลคติกแอซิด เมื่อเวลาผ่านไป 45 วันพบว่าตัวอย่างทั้ง 2 ชนิดไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของหมู่ฟังก์ชั่น
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79054
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ENVI-029 - Tanawan Chonsuwan.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.