Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79069
Title: ราชินีลูกทุ่ง: พุ่มพวง ดวงจันทร์ กับความเปลี่ยนแปลงของเพลงลูกทุ่งไทยทศวรรษ 2510 - ทศวรรษ 2540 
Other Titles: Queen of Lukthoong: Phumphuang Duangchan and the transformation of Lukthoong music in Thailand, mid 1960s - early 2000s
Authors: ปรกเกศ ใจสุวรรณ์
Advisors: ธนาพล ลิ่มอภิชาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: พุ่มพวง ดวงจันทร์, 2504-2535
เพลงลูกทุ่ง -- ประวัติ
นักร้องเพลงลูกทุ่ง -- ไทย
Folk singers -- Thailand
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาชีวประวัติของพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเสนอว่า ชีวประวัติของพุ่มพวงได้ชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จของเธอเกิดขึ้นจากการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงภายในธุรกิจเพลงลูกทุ่ง รวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายนอกวงการเพลงลูกทุ่ง อาทิ การขยายตัวของกลุ่มผู้ฟังวัยรุ่น การขยายตัวของสื่อโทรทัศน์ ฯลฯ ความสำเร็จของพุ่มพวงจึงเป็นหมุดหมายของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของเพลงลูกทุ่งในช่วงปลายทศวรรษ 2520 ต่อต้นทศวรรษ 2530 แต่กระนั้น ความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ของเพลงลูกทุ่งที่เกิดขึ้นจากความสำเร็จของพุ่มพวงก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาในรูปของกระแสอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งที่ได้เข้ามากระชับความหมายและขอบเขตของ “ความเป็นเพลงลูกทุ่ง” โดยยึดโยงเพลงลูกทุ่งเข้ากับความเป็นไทยที่ขาดพลวัตและมีความคับแคบกว่าที่ควรจะเป็น การนิยามที่เกิดขึ้นจากการอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งนี้ได้ทำให้ พุ่มพวง ดวงจันทร์ มีสถานะเป็นทั้งผู้ที่สร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้กับเพลงลูกทุ่งและเป็นผู้ที่ปิดฉากเพลงลูกทุ่ง (แท้) อีกทั้งยังส่งผลให้ศิลปินในยุคปัจจุบันที่สร้างผลงานตามสมัยนิยมมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ไม่เป็นเพลงลูกทุ่ง”
Other Abstract: This thesis aims to study Phumphuang Duangchan’s biography. It proposes that Phumphuang’s biography shows how her success is largely due to her ability to adapt to the changes within the Lukthung music business as well as changes that occurred outside the Lukthung music industry, for example, the expansion of the youth audience, the growth of the television media, etc. The success of Phumphuang was therefore a milestone for the entrance into the modern era of Lukthung music in the late 1980s. The transformation of Lukthung music resulting from the success of Phumphuang also caused a reaction in the form of a movement to conserve Lukthung music. This movement narrowed the meaning and scope of “Lukthung music” by attaching it to a definition of Thainess that was static and more limited than it should be. This conservative definition of Lukthung music meant that Phumphuang Duangchan contributed, on the one hand, to new developments in Lukthung music, but did, on the other, ushered in the death of “authentic” Lukthung music. This development also resulted in modern-day artists creating contemporary works often being criticized for “not being Lukthung”. 
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79069
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.736
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.736
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080127922.pdf6.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.