Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7938
Title: ผลของการยืนยันคุณค่าต่ออารมณ์และเจตคติของผู้ที่มีความแตกต่างกันในความเป็นปัจเจกบุคคลนิยมและคติรวมหมู่
Other Titles: The effects of affirmations on affect and attitude of persons with different degrees of individualism and collectivism
Authors: พลกฤต ธนธรรมคุณ
Advisors: จรุงกุล บูรพวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Jarungkul.B@chula.ac.th
Subjects: จิตวิทยาสังคม
จิตวิเคราะห์
จิตวิทยาปัจเจกบุคคล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของการยืนยันคุณค่าต่ออารมณ์และเจตคติของผู้ที่มีความแตกต่างกันในความเป็นปัจเจก บุคคลนิยมและคติรวมหมู่ ผู้ร่วมการทดลองในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคคลทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 17-25 ปี จำนวน 300 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูงหรือต่ำและมีความเป็นคติรวมหมู่สูงหรือต่ำ รวม 4 กลุ่ม และได้ทำการ ยืนยันคุณค่าในเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป 3 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขการยืนยันคุณค่าในตนเอง เงื่อนไขการคาดคะเน การยืนยันคุณค่าในตนเองของบุคคลใกล้ชิดและเงื่อนไขการไม่มีการยืนยันคุณค่าในตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองมีเจตคติต่อแหล่งของการคุกคามไปในทิศทางบวกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการยืนยัน คุณค่าในตนเอง 2. ผู้ที่ได้คาดคะเนการยืนยันคุณค่าในตนเองของบุคคลใกล้ชิดมีเจตคติต่อแหล่ง ของการคุกคาม ไปในทิศทางบวก มากกว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเอง 3. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขการยืนยันคุณค่าและลักษณะมุมมองแบบปัจเจกบุคคลนิยม และคติรวมหมู่ 4. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (Three-way ANOVA) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไข การยืนยันคุณค่าและลักษณะมุมมองแบบปัจเจกบุคคลนิยม และพบว่าบุคคลที่มีลักษณะมุมมองแบบปัจเจกบุคคลนิยม สูงสามารถยืนยันคุณค่าในตนเองและใช้บุคคลใกล้ชิดเป็นแหล่งของการยืนยันคุณค่าในตนเองได้ดีพอๆกัน แต่ไม่พบ ความแตกต่างในผู้ที่มีลักษณะมุมองแบบปัจเจกบุคคลนิยมต่ำ
Other Abstract: This research examined the effects of affirmation on affect and attitude between groups exhibiting different cultural dimensions in dissonance situation. Three-hundred participants were equally assigned into one of the 12 experimental conditions; 4 (individualism high or low / collectivism high or low) x 3 (affirmation conditions self-affirmation or friend- affirmation or no affirmation). A 4x3 ANOVA analysis method was used to examine the results. Results show that: 1. Participants in the self-affirmation condition have significantly more positive attitude toward the source of the dissonance than those who get no affirmation. 2. Participants in the friend-affirmation condition have significantly more positive attitude toward the source of the dissonance than those who get no affirmation. 3. A 4x3 two-way ANOVA reveals no significant interaction between affirmation conditions and individualism/collectivism values. 4. A 2x2x3 three-way ANOVA further shows a significant interaction between affirmation conditions and the individualism value. Participants who have high individualism value and get the self-affirmation or the friend-affirmation conditions have significantly more positive attitude toward the sources of the dissonance than those who get no affirmation. No differences are found in participants with low individualism value.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7938
ISBN: 9741419635
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pollakit_Th.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.