Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79557
Title: การประยุกต์ใช้คะแนนการตั้งเป้าความสำเร็จโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนยกลางสำหรับผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็ง
Other Titles: Application of goal attainment scale as a patient-centered assessment for cervical dystonia
Authors: ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
Advisors: รุ่งโรจน์ พิทยศิริ
พัทธมน ปัญญาแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: คอ -- การรักษาด้วยยา
คอ -- บาดแผลและบาดเจ็บ
Neck -- Wounds and injuries
Neck -- Chemotherapy
Cervical dystonia
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมา: โรคคอบิดเกร็งมีลักษณะสำคัญคือกล้ามเนื้อบริเวณคอที่หดเกร็งโดยไม่สามารถควบคุมได้อันเป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวและตำแหน่งของคอและศีรษะที่ผิดปรกติไป ผลกระทบจากโรคคอบิดเกร็งมีทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวซึ่งซับซ้อนและแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นหากผู้ป่วยสามารถที่จะระบุปัญหาสำคัญและเป้าหมายในการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับตัวผู้ป่วยแต่ละรายเองได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษามากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแบบประเมินคะแนนการตั้งเป้าความสำเร็จ (goal attainment scale) ของการรักษาโรคคอบิดเกร็ง โดยเปรียบเทียบคะแนนของอาการกลุ่มต่างๆ ก่อนและหลังการรักษาด้วยการฉีดยาโบทูลินั่มท็อกซินในผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็ง รูปแบบการศึกษา: การศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนาโดยการสังเกต วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็งปฐมภูมิแต่ละรายทำการระบุปัญหาสำคัญหรือเป้าหมายในการรักษาจำนวน 3 ข้อก่อนการฉีดยาโบทูลินั่มท็อกซิน โดยแต่ละปัญหาแบ่งคะแนนความคาดหวังออกเป็น 5 ระดับ จาก -2 ถึง +2 ในการประเมิน โดยคะแนน “0” หมายถึงผลหลังการรักษาพอดีกับที่คาดหวังไว้ คะแนนบวก “+1,+2” หมายถึงผลหลังการรักษาดีกว่าที่คาดหวังไว้ คะแนนลบ “-1,-2” บ่งชี้ถึงผลการรักษาน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ ซึ่งปัญหาสำคัญ 3 ข้อที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับคะแนนในแต่ละข้อจะใช้ในการประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษาและหลังการรักษา 6 สัปดาห์ ร่วมกับนำคะแนนจากทั้งสามข้อมาคำนวณเป็น T-Score เพื่อสะท้อนถึงภาพรวมของปัญหาหลังทำการรักษา ผลการทดลอง: ผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็งทั้งหมด 22 รายเป็นชาย 8 ราย หญิง 14 ราย ทำการระบุปัญหาสำคัญหรือเป้าหมายในการรักษารวม 66 ข้อ (รายละ 3 ข้อ) ก่อนการรักษาผู้ป่วยทั้งหมดมีคะแนน GAS T-Score น้อยกว่า 50 โดยหลังการรักษา 6 สัปดาห์ พบว่า ร้อยละ 59.09 (13 จาก 22 ราย) ของผู้ป่วยมี GAS T-Score มากกว่า 50  ร้อยละ 27.27 (6 จาก 22 )  ของผู้ป่วยมี GAS T-Score เท่ากับ 50 และร้อยละ 13.64 (3 จาก 22 ราย) ของผู้ป่วยยังคงมี GAS T-Score น้อยกว่า 50  โดยร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของ GAS T-Score หลังการรักษาเมื่อเทียบกับก่อนการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ 41.62 [PP1] ปัญหาสำคัญที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ อาการศีรษะสั่นหรือกระตุกจากภาวะคอบิดเกร็งโดยพบร้อยละ 45.45 รองลงมาคือภาวะขาดความมั่นใจเนื่องจากอาการคอบิดเกร็ง พบร้อยละ 40.90 และปวดคอ พบได้ร้อยละ 36.36 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าตอบสนองได้ดีหลังการรักษามากที่สุดคือ อาการปวดไหล่โดยพบดีขึ้นร้อยละ 100  รองลงมาคือ อาการศีรษะสั่นหรือกระตุกร้อยละ 90 และภาวะขาดความมั่นใจร้อยละ 88.89 ของจำนวนผู้ป่วยตามลำดับ สรุป: แบบประเมินคะแนนการตั้งเป้าความสำเร็จมีความสามารถในการระบุปัญหา และปัญหาที่ได้รับการแก้ไขภายหลังการรักษาด้วยการฉีดยาโบทูลินั่มท็อกซินในผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็งได้เฉพาะเจาะจงสำหรับตัวผู้ป่วยแต่ละราย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาในคลินิกได้ โดยอาการศีรษะสั่นหรือกระตุก กลับเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็ง
Other Abstract: Background: Cervical dystonia is characterized by involuntary muscle contractions at the neck area and causes abnormal postures of the head and neck. Impact of cervical dystonia on motor and non-motor symptoms are complex and vary amongst individual patient. The most disturbing problems and the goal of treatment of cervical dystonia should be explored individually for the best management. Objective: To explore the goal attainment scale (GAS) by interviewing the three most disturbing problems and changes after Botulinum toxin A injection in cervical dystonia patients. Study design: Descriptive observational prospective study Material and methods: Patients with cervical dystonia established and prioritized three personalized main problems or goals of treatment before Botulinum toxin A injection. A five-point scale ranging from -2 to +2 was used to evaluate each problem. A score of “0” referred to the achievement of the goal as expected while positive scores “+1, +2” indicated achievement more than expected, and negative scores “-1, -2” indicated achievement lower than expected. These 3 similar main problems were assessed again after 6 weeks of treatment and all scores were combined using a standard formula to derive a T-score that reflected overall achievement of treatment. The GAS T-score > 50 after botulinum toxin injection suggested that all symptoms were above patients’ expectation. Results: 22 cervical dystonia patients (8 male, 14 female) were recruited. Total 66 personalized goals were set (3 goals per patient). 59.09% of patients (13 of 22 patients) reported GAS T-score > 50 or above the expectation after botulinum toxin injection while 13.46% of patients (3 of 22 patients) reported GAS T-score < 50. The mean percentage of GAS T-score changes was 41.62%. Interestingly, the three most disturbing problems were head tremor (45.45%), loss of confidence (40.90%) and neck pain (36.36%).  Shoulder pain (100%), followed by head tremor (90%) and loss of confidence (88.89%) were reported as the three most responsive symptoms to botulinum toxin injection. Conclusion: Our study demonstrated that the goal of treatment of cervical dystonia should be individually explored. GAS has been shown as an applicable scale for evaluating Botulinum toxin A injection outcome in cervical dystonia patients. Head tremor was the most concerned symptoms instead of abnormal head posture and pain.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79557
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1147
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1147
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370086330.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.