Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79599
Title: การเปิดรับข่าวสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย
Other Titles: Media exposure and factors that influence the intent of using digital assets amongst generation y consumers
Authors: กฤตธี เปี่ยมสง่า
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: เจนเนอเรชันวาย
สินทรัพย์ดิจิทัล
พฤติกรรมผู้บริโภค
Generation Y
Digital asset
Consumer behavior
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำรวจ การเปิดรับข่าวสารและอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย จำนวน 400 คน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านสื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์และสื่อมีปฏิสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม คุณค่าราคา การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้ว่าน่าไว้วางใจ จัดอยู่ในระดับมาก มีเพียง อิทธิพลทางสังคม ที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความตั้งใจใช้สินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมพบว่าจัดอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ (ß = 0.334) การรับรู้ว่าน่าไว้วางใจ (ß = 0.261) และอิทธิพลทางสังคม (ß = 0.156) โดยสมการความสัมพันธ์สามารถอธิบายได้ร้อยละ 50.8 (R2 = 0.508)
Other Abstract: The research aims to explore media exposure and factors that influence the intent of using digital assets amongst Generation Y consumers. This research is a quantitative research using a survey research method. and collect data by using online questionnaires through social media channels from 400 Generation Y consumers samples. The results showed that the sample group had a moderate frequency of media exposure to digital assets through Non-Interactive and Interactive Media. Performance Expectancy, Effort Expectancy, Price Value, Perceived Risk, and Perceived Trust are classified at a high level, with only Social Influence that is classified as moderate. The intention of using digital assets of the sample group overall was found that it was at a high level. The hypothesis testing revealed the variables that influenced the intention of using the digital assets of the sample were Performance Expectancy (ß = 0.334), Perceived Trust (ß = 0.261), and Social Influence (ß = 0.156). The regression equation can be described as 50.8% (R2 = 0.508).
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79599
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.654
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.654
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380003428.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.