Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80037
Title: การวิเคราะห์พารามิเตอร์ของเครื่องบดหินผสมในการผลิตปูนมอร์ต้า
Other Titles: Analysis of roller mill parameter for aggregated limestone in mortar production
Authors: ปรัชญ์พล พวงศิริ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปูนซีเมนต์มอร์ต้าได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตปูนคือทราย กระบวนการบดเป็นกระบวนการหนึ่งของการผลิตเพื่อลดขนาดของหินปูนเป็นทรายให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ (ขนาด 0.1-0.6 มม.) ส่วนที่เหลือจะเป็นผงละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 มม. อาจเป็นมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดเก็บและกำจัดต่อไป การศึกษานี้จึงได้ทำการทดลองหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องบดแบบลูกกลิ้งแนวตั้งเพื่อปรับปรุงการบดให้สามารถเพิ่มสัดส่วนของทรายที่ได้ขนาดและลดปริมาณผงหรือฝุ่นละเอียดลง จากผลการทดลองได้ค่าที่เหมาะสมของพารามิเตอร์สำหรับการปรับตั้งเครื่องบดแบบลูกกลิ้งแนวตั้งดังนี้ อัตราป้อนวัตถุดิบ 130 ตัน/ชั่วโมง แรงอัดบด 103 บาร์ ความเร็วในการหมุนของโต๊ะ 9.5 รอบต่อนาที และอัตราการดูดผงละเอียด 37,838 ลบ.ม./ชั่วโมง ทำให้สัดส่วนของทรายเพิ่มจาก 62.91% เป็น 77.34% คิดเป็นผลผลิตเพิ่มขึ้น 14% ในขณะที่สัดส่วนของผงละเอียดลดลงจาก 37% เป็น 14.80%
Other Abstract: Mortar cement has been developed for widespread use in the construction industry. One of the important raw materials used in the mortar production is sand. Milling process was once used to digest aggregated limestone to produce sand of the desired size (0.1-0.6 mm.), with the residue being a significant volume of powder smaller than 0.1 mm. The powder or fine dust can pollute the air, interrupt the milling process, and necessitate storage and removal of the powder. The optimal set parameters of the vertical roller mill were investigated in this study to improve the limestone milling operation, increase the desired sand, and decrease powder. According to the experimental results, the estimated values of parameters reflected that feed rate of raw material at 130 tons per hour, milling pressure 103 bar, table rotating speed 9.5 rpm, and find dust suction rate at 37,838 m3/h could increase the proportion of sand from 62.91% to 77.34% implying productivity risen by 14% while the proportion of the percentage of fine powder decreased from 37.00% to 14.80%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80037
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.996
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.996
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170939621.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.