Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80157
Title: | การประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก |
Other Titles: | Life cycle sustainability assessment and eco-efficiency of plastic pellet |
Authors: | ณัฐพงษ์ วิชัยอัชชะ |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตและการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก กรณีศึกษาคือการผลิตเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงและเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำ โดยศึกษาในด้านความยั่งยืนทั้งสามด้านได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิต ด้านเศรษฐกิจใช้เครื่องมือการประเมินต้นทุนตลอดวัฏจักรชีวิต และด้านสังคมใช้การประเมินผลกระทบทางสังคม โดยนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูง และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตด้วยวิธีระเบียบวิธีที่ช่วยในการสร้างการตัดสินใจกับการประเมินหลายส่วน (Multi-Criteria Decision Analysis) และการทำการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย(Actor Network Analysis) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการด้านความยั่งยืนของกรณีศึกษาผลการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมพบว่า ผลกระทบด้านการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป มีสัดส่วนผลกระทบมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญประมาณร้อยละ 50 เพราะเนื่องจากการผลิตเม็ดพลาสติกนั้นใช้วัตถุดิบจากแนฟทาและก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบตั้งต้น โดยกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดคือการได้มาของวัตถุดิบโดยสัดส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงถึงรอยละ 93-99 จากกิจกรรมทั้งหมดในการดำเนินการผลิตโดยมีค่าผลกระทบที่ใกล้เคียงกันทั้งการผลิตเม็ดพลาสติกทั้งสองชนิด ผลการประเมินด้านเศรษฐกิจ การศึกษาต้นทุนพบว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากต้นทุนในการดำเนินระบบร้อยละ 80 และต้นทุนด้านการบำรุงรักษาร้อยละ 20 โดยต้นทุนของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงจะสูงกว่าต้นทุนของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำอยู่เล็กน้อย ผลการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ระหว่างเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงและเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำพบว่า ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูงจะมีค่า 5.55 ดีกว่าเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำคือ 4.8 อยู่เล็กน้อย ผลการประเมินผลกระทบทางด้านสังคมพบว่า กรณีศึกษาได้ดำเนินการได้ครบถ้วนตามตัวชี้วัดที่ทำการศึกษาทั้งหมด 13ตัวชี้วัดทางด้านสังคม โดยครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ คนงาน ผู้บริโภค สังคม และชุมชนท้องถิ่น และผลความถึงพอใจจากการดำเนินการพบว่า คนงานมีความพึงพอใจในระดับสูงสุดในระดับพึงพอใจมาก ส่วนกลุ่มอื่นๆอยู่ในระดับดี การวิเคราะห์ผู้มีสวนได้ส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินการของบริษัท ในด้านนโยบาย สังคม และเศรษฐกิจ พบว่า การดำเนินการกรณีศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้เป็นลำดับแรกและมีการยกระดับตามมาตรฐานและข้อตกลงในระดับสากลอย่างต่อเนื่องโดยข้อจำกัดในการการค้าภายในประเทศไม่พบปัญหาจากการดำเนินการแต่สำหรับการค้ากับต่างประเทศมีการเรียกร้องการปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อลดข้อจำกัดและอุปสรรคทางการค้ากับต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงงานดำเนินการยกระดับมาตรฐานการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การประเมินความยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องทำการเปรียบเทียบเพื่อดูผลิตภัณฑ์ว่ามีความยั่งยืนมากเพียงใดตามตัวชี้วัด ผู้วิจัยจึงนำผลการศึกษาของเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำนำมาเปรียบเทียบแต่สิ่งที่เป็นข้อจำกัดคือผลกระทบทางด้านสังคมไม่สามารถทำการปันส่วนได้ในลักษณะเดียวกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางด้านต้นทุน ทำให้ผลกระทบทางสังคมของเม็ดพลาสติกทั้งสองชนิดมีค่าผลกระทบเท่ากัน โดยผลการประเมินความยั่งยืนพบว่าเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำมีค่าความยั่งยืนที่มากกว่าหากประเมินด้วยวิธีที่ผู้วิจัยเลือกใช้ |
Other Abstract: | Life cycle sustainability assessment and Eco-efficiency of plastic pellets, high density polyethylene (HDPE) and low-density polyethylene (LDPE), were chosen as case studies. The sustainability assessment evaluated three aspects using the following methods: Life Cycle Assessment (LCA) was used for the environmental impact; Life Cycle Cost (LCC) was used for economic impact evaluation; and Social Life Cycle Assessment (SLCA) was used for social impact evaluation. These assessment results were applied to eco-efficiency and life cycle sustainability assessment using the Multi-criteria decision analysis, together with Actor network analysis approach, in order to investigate the operation of the factory. The result from the life cycle assessment showed that non-renewable energy had the highest significance environmental impact. Approximately 50 percent of all impact categories, which included material acquisition activity, had 93-99 percent impact, compared to all proportion of all activities. The results from HDPE and LDPE gave similar results for the proportions and impact significance. Life cycle cost evaluation illustrated that the operation cost reached approximately 80 percent followed by maintenance cost at about 20 percent. HDPE cost was quite small, lower than LDPE cost. Eco-efficiency analysis of HDPE and LDPE demonstrated that the eco-efficiency of HDPE was better than LDPE, the results were 5.5 and 4.8 respectively. Social impact assessment demonstrated that the factory was able to gather information on all 13 chosen social impact indicators, the satisfaction scores were gathered by questioning the stakeholders: workers, consumers, society, people in the local community. The results for satisfaction were highest among workers, however, the results from other groups were also good. Actor network analysis showed that the case study was dependent on the laws and regulation of Thailand. The factory has tried to promote and improve its operations by participating in various international agreements and implementing international standards in order to continuously eliminate trade barriers and improve the reputation and image of the company. The last objective of this study was to evaluate the overall sustainability for this case study using Life cycle sustainability approach. However, there are still problems using this method as the result of SLCA cannot be clearly compare with LCA and LCC. Therefore, the social indicator results of HDPE and LDPE are the same. But the results for sustainability showed that LDPE is more sustainable. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80157 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1049 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1049 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787851120.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.