Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80216
Title: | ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย |
Other Titles: | Impact of inequality on higher education admissions of Thai students |
Authors: | ธนกร วรพิทักษานนท์ |
Advisors: | ศยามล เจริญรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาระดับอุดมศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพและการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียน ซึ่งเป็นผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในมิติปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้กระทำการต่อปัจเจกนักเรียน ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้และนำไปสู่ผลกระทบตามมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาและปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 2) ศึกษาความเหลื่อมล้ำในปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย และ 3) ศึกษาผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกรณีศึกษาที่มีความเป็นตัวแทนจำนวน 16 คนประกอบด้วย กรณีศึกษานักเรียนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจำนวน 12 คน และกรณีศึกษาอาจารย์แนะแนวจากสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนจำนวน 4 คน และทำการวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีความเหลื่อมล้ำในสำนักคิดแนวสมรรถภาพมนุษย์และแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ผลการศึกษา พบว่า ความเหลื่อมล้ำในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทยประกอบด้วยปัจจัยหลักความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคม 2) ปัจจัยสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐหรือเอกชน และ 3) ปัจจัยระบบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยความเหลื่อมล้ำจากปัจจัยหลักทั้งสามและความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างทางสังคมได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อของนักเรียนในสองส่วน ได้แก่ 1) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำภายใต้แนวคิดและปรากฎการณ์ โดยพบว่า ภายใต้แนวคิดและปรากฎการณ์นี้ความเหลื่อมล้ำได้ส่งผลกระทบผ่านปัจจัยหลักทั้งสามที่ได้กระทำการต่อนักเรียนโดยได้ลิดรอนสมรรถภาพและลดทอนโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนนำไปสู่ผลกระทบในการขาดอิสรภาพทางโอกาสของนักเรียน และ 2) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในมิติเชิงลึก โดยพบว่า ภายใต้โครงสร้างทางสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำได้สร้างผลกระทบในมิติเชิงลึก ได้แก่ มิติภายในครอบครัว มิติทางสุขภาพ มิติทางเพศ รวมถึงค่านิยม การพึ่งพาและการลงทุนในการศึกษาต่อ ทั้งนี้รัฐได้พยายามลดความเหลื่อมล้ำด้วยการปรับระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาและผ่านระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาแม้ยังคงพบปัญหาและข้อจำกัดก็ตามแต่นักเรียนก็ควรมีส่วนต่อการรับผิดชอบตนเองในการวางแผนกลยุทธ์และการต่อรองภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ให้สามารถผ่านการคัดเลือกของระบบคัดเลือกเพื่อให้เข้าศึกษาต่ออุดมศึกษาได้ตามที่ต้องการ |
Other Abstract: | Higher education is Important to human resource development to have access to career opportunities and social mobilities. However, Thai higher education suffers from inequality of opportunities to access higher education admission of student. The propose of this study are 1) to identify the Admission System and the factors of entrance to Higher Education in Thailand; 2) to study inequality in the factors of entrance to higher education of Thai students; and 3) to study the impact of inequality on higher education admission of Thai students. This study is qualitative research include selecting specific samples and in-dept interviews from students and teachers in Bangkok and other provinces with a total of 16 participants, and analyze by Inequality theory in capabilities approach and progressivism of conceptual education design. The result of the research found that the inequality in higher education of Thai students consist of 1) inequality in economic and social capital factors; 2) inequality in educational institutions factors; 3) inequality in higher education admission System factors. Inequality from the three main factors and inequality in social structures have affected the further education of students in two parts consist of 1) The impact of inequality under concepts and phenomenon; found that the inequality effects to opportunities in higher education of Thai students. and 2) The impact of inequality in in depth dimensions; found that the inequality effect to family, health, and sex dimensions include value, dependency, and investment for higher education of Thai students. However, the state has tried to reduce inequality by adjusting the higher education admissions system and Loan Fund system, but Thai students should be plan strategic to pass from qualifying process in higher education admission system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนามนุษย์และสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80216 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.773 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.773 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6282008720.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.