Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80494
Title: | ประสิทธิผลของการสอนการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาท ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปน : กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา |
Other Titles: | LA EFICACIA DE LA ENSEÑANZA RECÍPROCA EN EL DESARROLLO DE LA COMPRENSIÓN LECTORA DE ESPAÑOL: UN CASO PRÁCTICO DE MATTHAYOM 5 DE LA ESCUELA TRIAM UDOM SUKSA |
Authors: | เทียมจันทร์ สังขพันธานนท์ |
Advisors: | สุกิจ พู่พวง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Subjects: | ภาษาสเปน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ภาษาสเปน -- การอ่าน Spanish language -- Study and teaching (Secondary) Spanish language -- Reading |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนการเรียนภาษา-สเปน และเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านตามแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนแผนการเรียนภาษา-สเปน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นการสุ่มประชากรตัวอย่างแบบเจาะจง เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนภาษาสเปนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จัดให้มีแผนการเรียนภาษา-สเปนเพียง 1 ห้องต่อปีการศึกษา ทำให้ไม่สามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเพื่อทำการศึกษาในปีการศึกษาเดียวกันได้ จึงต้องใช้นักเรียนกลุ่มที่ต่างกันด้วยปีการศึกษา กล่าวคือ 1) กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน ได้รับการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม รายวิชา ป30204 ภาษาสเปน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ 2) กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน ได้รับการสอนตามแผน การจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจ แบบประเมินตนเองด้านการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจของนักเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนโดยครูเป็นผู้สังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยจากการศึกษาประสิทธิผลของการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปน พบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม จึงสรุปได้ว่า การสอนอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนมีประสิทธิผลคือ ทำให้ทักษะการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสูงขึ้น |
Other Abstract: | The aim of this research is to study the effectiveness of reciprocal teaching in Spanish reading skill on a case study of Matthayom 5 Spanish Program students of Triam Udom Suksa School and to develop lesson plans based on reciprocal teaching technique. The samples of this research were specific sampling from 41 Matthayom 5 Spanish Program students of Triam Udom Suksa School. Since Spanish curricular of the school provides only one classroom per academic year, separating the control group from the experimental group within the same classroom and the same academic year was restricted. Therefore, the sample groups from different academic years were conducted; i.e., 1) the control group, 17 students of Matthayom 5 of the second semester of academic year 2018, taught with lesson plans based on teacher manual of Department of Second Foreign Languages Triam Udom Suksa School and 2) the experimental group, 24 students of Matthayom 5 of the second semester of academic year 2019, taught with lesson plans based on reciprocal teaching technique. The research instruments were the Spanish reading comprehension ability tests, the student’s self-assessment form and the teacher’s observation form. The data were statistically analyzed by mean, standard deviation and t-test for dependent samples. The result of this research revealed that students taught with lesson plans based on reciprocal teaching technique had higher Spanish reading comprehension ability test scores than before conducting reciprocal teaching technique at a significance level of .05 and the average score was also higher than the control group. In conclusion, according to the result of higher Spanish reading comprehension ability of the students, it is proved that the reciprocal teaching technique had an effectiveness in the student’s Spanish reading skill. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาอังกฤษ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80494 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.965 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.965 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arts_THIAMCHAN SA_The_2563.pdf | 142.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.