Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80682
Title: การประเมินผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีต่อธุรกิจการขนส่งทางเรือ
Other Titles: Impact assessment of coronavirus disease 2019 (COVID-19) on the shipping business
Authors: มารวย ดุจธังกร
Advisors: ระหัตร โรจนประดิษฐ์
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การขนส่งทางน้ำ
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
Shipping
COVID-19 Pandemic, 2020-
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีต่อธุรกิจทางเรือ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น และการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ของทั้งการเดินเรือ และท่าเรือ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยคือแบบสอบถามการประเมินถึงผลกระทบที่ได้รับ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างคือบริษัทสายเรือ หรือตัวแทนสายเรือในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) และ บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยสถิติที่ในการเปรียบเทียบความความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายกลุ่ม คือ สถิติ Independent sample t-test. ผลจากการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มตัวอย่างให้คะแนนผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่มาก และ มากที่สุด มีระดับปานกลางเป็นส่วนน้อย ผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของการเดินเรือในระยะสั้น ที่ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นตรงกันว่ามีผลกระทบในระดับมากที่สุดคือด้านอัตราค่าระวางเรือสูงซึ่งอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาตรถูกจำกัด และ อุปสงค์,อุปทานที่ไม่ตรงกัน ส่วนผลกระทบที่มากที่สุดในด้านการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นที่เกิดขึ้นกับท่าเรือคือด้านปัญหาการขาดแคลนลานวางตู้คอนเทนเนอร์เนื่องจากความแออัด จากการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างของผลกระทบที่เกิดขึ้นในบางด้านในการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นของการเดินเรือและท่าเรือ คือ ถึงแม้ระดับของผลกระทบจะเท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่เกิดขึ้นของการเดินเรือและท่าเรือจากการสำรวจไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This research aims to study the impact of Coronavirus (COVID-19) on the shipping business which resulted in short-term changes and long-term changes of both shipping and port sector with a questionnaire in evaluation of the effects, comparison of a sample of the shipping line and freight forwarder. Analysis using descriptive statistics by percentage, mean, standard deviation. The statistics for comparing the difference of the two means is independent sample t-test. The results of study found that both samples rated the effects at high, the highest, and minimal average. The most impact of changes in shipping is high freight rates that could further increase if capacity continues to be constrained and demand, supply mismatch occurs. The most impact of short-term changes in ports is shortage of container stacking yard during congestion. The survey found that there were some differences in short-term changed impacts in shipping and ports, there was a statistically significant difference at 0.05 level. The long-term changed impacts in shipping and ports were not significantly different at 0.05 level.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80682
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.223
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280053520_Maruay.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.