Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80697
Title: การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีศึกษาบริษัท ABC
Other Titles: Improving the efficiency of business processes of an air freight forwarder company: Case study of ABC Company
Authors: ณัฐติกาญจน์ ศิริวัฒน์
Advisors: ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล
สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การขนส่งทางอากาศ
การขนส่งสินค้า
ผู้ประกอบการขนส่ง
Aeronautics, Commercial
Commercial products -- Transportation
Freight forwarders
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในกระบวนการทำงานของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ พร้อมประเมินและเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการขนส่ง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน ระยะเวลา และประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การเตรียมใบเสนอราคาให้ลูกค้าไปจนถึงการส่งมอบสินค้าของลูกค้าไปยังคลังสินค้าของสายการบิน ผลจากการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดในกระบวนการทำงานของบริษัทมี 2 เรื่อง 1) การจองรถรับส่งสินค้า ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ KPI เนื่องจากข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลและเวลาที่ไม่จำเป็น 2) ค่าใช้จ่ายในการรับสินค้าจากลูกค้าสูง ดังนั้นการศึกษานี้จึงใช้เทคนิค ECRS เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานในการจองรถรับส่งสินค้า ส่งผลให้เวลาดำเนินการทั้งหมดลดลงจาก 130 นาที เป็น 40 นาที หรือลดลง 69% และนำเสนอการขนส่งด้วยระบบ milk run เพื่อไปรับสินค้าจากลูกค้าแทนการรับโดยตรงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการ วิเคราะห์โดยเทคนิค Saving Algorithms for Vehicle Routing เผยให้เห็นศักยภาพในการประหยัดต้นทุน 24% สำหรับรถบรรทุก 4 ล้อ และ 46% สำหรับรถบรรทุก 6 ล้อ
Other Abstract: The purpose of this independent study is to identify problems in business processes experienced by an air freight forwarder company and to evaluate and propose ways to improve the efficiency of these processes. The study collects field data regarding costs, time, and performance of processes starting from the preparation of customer’s quotation to the delivery of customer’s shipment to the airline warehouse. Two specific areas of problem are uncovered; 1) the booking of transport process fails to meet the KPI criteria due to unnecessary time and data transmission errors and 2) the high cost of picking up shipment from customers. The study applies the ECRS technique to streamline the process of transport booking resulting in a reduction in total operating time from 130 minutes to 40 minutes, or a 69 % reduction. The study also proposes the milk run operation to pick up the shipments from customers in place of the direct pick up operation currently employed. The application of the Saving Algorithms for Vehicle Routing reveals a potential pick-up cost saving of 24% for 4 wheeled trucks and of 53% for 6 wheeled trucks.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80697
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.247
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.247
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380023820_Nattikarn Si_IS_2564.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.