Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81104
Title: ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา
Other Titles: Financial feasibility of rooftop solar PV system for industrial-pump factory : a case study
Authors: ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์
Advisors: ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประสิทธิภาพของปั๊มอุตสาหกรรม เช่น ปั๊มน้ำหม้อน้ำ และ ปั๊มน้ำหล่อเย็น ที่มีค่ากำลังในช่วง 90 – 315 กิโลวัตต์ จะถูกทำการสุ่มทดสอบก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทางโรงงานผลิตปั๊มอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องปิดระบบปรับอากาศทั้งโรงงานขณะทำการทดสอบปั๊มให้ลูกค้าชม ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง 4 ครั้ง/เดือน อนึ่งบริษัทผู้เชียวชาญด้านการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ออกแบบติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จากพื้นที่บนหลังคา  สามารถผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับใช้ในกิจกรรมการทดสอบปั๊มตามการร้องขอของลูกค้า 100 กิโลวัตต์สูงสุด  งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอ 3 ฉากทัศน์ในการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100%, 75%, 50% จากการออกแบบของบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 3 ฉากทัศน์นี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 152,810 109,190 และ 73,287 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี ตามลำดับ โดยคำนวณผ่านโปรแกรม PVSyst ระยะเวลาโครงการ 25 ปี ประเมินมูลค่าการลงทุนผ่านแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลด ได้ผลของมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 1,212,849.40  491,599.73 และ 127,585.1 บาท ตามลำดับ มูลค่าผลตอบแทนภายในเท่ากับ 18.33% 15.79% และ 14.09% ตามลำดับ  ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5.32  6.13 และ 6.79 ปี ตามลำดับ และ มูลค่าต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยตลอดอายุโครงการเท่ากับ 1.708  1.908  2.182 บาท/หน่วย ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์แรกเป็นแนวทางที่น่าสนใจลงทุนที่สุด  และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยนำเข้าด้านราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของการไฟฟ้านครหลวงและประสิทธิภาพของแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามลำดับ
Other Abstract: The performance of industrial pumps such Boiler feed pump and Cooling water pump in the power range of 90–315 kW is randomly tested before delivery to a client. This causes a strain on the factory power supply. The factory must turn off whole the air-conditioning system to reserve the electricity for the activity 3-4 hrs  4 times/month. each. The roof area is enough to install PVs, which generate 100 kWp of electricity, designed by an expert company to cover pump performance tests and any activities. This research simulated 3 scenarios 100%, 75%, and 50% from the expert company specifications. They generate a total of electricity 152,810 109,190 and 73,287 kWh/year, respectively by PVSyst program calculation. 25 years in the lifetime of this project is worth investing in by evaluating in Discounted Cash Flow (DCF) model. Net Present Value(NPV) are 1,212,849.40  491,599.73 and 127,585.1 THB, respectively. Internal Rate Ratio(IRR) are 18.33% 15.79% and 14.09% respectively. Payback period(PB) are 5.32  6.13 and 6.79 years, respectively. And Levelized Cost of Energy(LCOE) are 1.708  1.908  2.18 THB/Unit, respectively. The result of this research that first scenario is interested in investment. The input variant of sensitivity analysis on NPV of the project relates to Metropolitan Electricity Authority consumption price and the efficiency of solar PV rooftop respectively.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81104
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.136
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.136
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380122220.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.