Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81395
Title: ปัญหาความไม่เหมาะสมของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 กับสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ศึกษากรณีการชำระค่าอากรแทนการวางประกัน
Authors: กัลยกร ภมรบุตร
Advisors: กฤติกา ปั้นประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: กฎหมายศุลกากร
ผู้เสียภาษี
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับค่าอากรเกิดขึ้นขณะของกำลังผ่านพิธีการศุลกากร หากพนักงานศุลกากรมีความเห็นเบื้องต้นในขณะผ่านพิธีการศุลกากรว่าผู้นำของเข้ายังเสียอากรไม่ครบถ้วน และผู้นำของเข้าก็ยินยอมชำระอากรไปตามนั้น แม้ต่อมาจะมีการพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว พนักงานศุลกากรยังมีความเห็นตามเดิม ผู้นำของเข้าก็จะไม่มีช่องทางให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เนื่องจากมีการชำระอากรครบถ้วนแล้ว พนักงานศุลกากรจึงไม่ออกแบบแจ้งการประเมินให้ ผู้นำของเข้าจึงไม่อาจอุทธรณ์ได้ แม้ตามมาตรา 55 จะกำหนดให้ผู้นำของเข้าชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า และวางเงินเพิ่มเติมเป็นประกันหรือวางประกันเป็นอย่างอื่นจนครบจำนวนเงินอากรสูงสุดที่อาจต้องเสียสำหรับของนั้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อผู้นำของเข้าวางประกันเพิ่มเติมเป็นเงิน จะมีค่าเทียบเท่ากับการชำระอากรไปก่อนตามความเห็นเบื้องต้นของพนักงานศุลกากร เพราะหากพนักงานศุลกากรได้วินิฉัยปัญหาค่าอากรและเห็นว่าเงินประกันดังกล่าวคุ้มค่าอากรแล้ว จะผลักเงินประกันนั้นเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมิน และถือว่าได้เสียอากรครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน จึงทำให้ผู้นำของเข้าไม่ได้รับแบบแจ้งการประเมินที่ให้ผู้นำของเข้าที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยสามารถอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณอุทธรณ์ได้ กรณีจึงกลายเป็นว่าจะต้องวางประกันด้วยหนังสือค้ำประกันของธนาคารเท่านั้นจึงจะได้รับแบบแจ้งการประเมิน กรณีไม่ได้รับแบบแจ้งการประเมินหากประสงค์ที่จะอุทธรณ์ จะต้องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่เหมาะสม อันเป็นการทำให้ผู้เสียอากรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้เสียภาษีอากรที่ไม่เท่เทียมกัน จึงไม่สอดคล้องกับสิทธิของผู้รับคำสั่งทางปกครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร และหลักภาษีอากรที่ดี นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการอุทธรณ์ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เพราะแบบแจ้งการประเมินของศุลกากรจะมีการระบุถึงภาษีทั้งสองประเภทในฉบับเดียวกันด้วย ทำให้ผู้ที่ประสงค์จะอุทธรณ์ไม่ได้รับหลักฐานในการนำไปประกอบการยื่นอุทธรณ์เช่นเดียวกัน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และประมวลรัษฎากร ประกอบกับหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
Description: เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81395
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.188
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.188
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280009734.pdf51.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.