Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82273
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ เพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพโดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Other Titles: | The relationships among parental support for career, peer support for career, and career identity: using career decision self-efficacy as a mediator |
Authors: | อรรัชดา เตชะสกลกิจกูร |
Advisors: | จิรภัทร รวีภัทรกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหาและการตกลงยึดมั่น โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 22-30 ปี จำนวน 151 คน จากการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่และอัตลักษณ์ทางอาชีพทั้งด้านการค้นหา (β = .08, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.006, .045]) และการตกลงยึดมั่น (β = .09, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.012, .072]) แต่เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนและอัตลักษณ์ทางอาชีพทั้งด้านการค้นหา (β = .13, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.015, .086]) และการตกลงยึดมั่น (β = .16, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.013, .134]) อีกทั้งการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ (β = .25, p < .001) และการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อน (β = .16, p < .05) มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหา ในขณะที่การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการตกลงยึดมั่น (β = .30, p < .001) แต่การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการตกลงยึดมั่น (β = -.10, p > .05) แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่จะส่งผลทางตรงให้บุคคลสนใจในการค้นหาอาชีพและตกลงยึดมั่นกับอาชีพเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพก่อน ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนจะส่งผลให้บุคคลพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลือกอาชีพ และส่งผลต่อเนื่องให้บุคคลเกิดอัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหาและการตกลงยึดมั่น |
Other Abstract: | This study aimed to investigate the associations between parental support for career, peer support for career, and career identity exploration and career identity commitment, with career decision self-efficacy playing a potential mediating role. The participants were 151 emerging adults aged between 22-30 years. The results of the mediation analysis revealed that career decision self-efficacy did not mediate in the relationship between parental support for career and career identity exploration (β = .08, 95% CI [-.006, .045]) and commitment (β = .09, 95% CI [-.012, .072]). However, career decision self-efficacy did mediate the relationship between peer support for career and career identity exploration (β = .13, 95% CI [.015, .086]) and commitment (β = .16, 95% CI [.013, .134]). Moreover, parental support for career (β = .25, p < .001) and peer support for career (β = .16, p < .05) had a direct effect on career identity exploration. While parental support for career directly influenced career identity commitment (β = .30, p < .001), peer support for career did not have a direct influence on career identity commitment. (β = -.10, p > .05) These findings suggest that receiving parental support for career has a direct impact on higher levels of career identity exploration and commitment, without requiring individuals to recognize their career decision self-efficacy as a prerequisite. Conversely, when individuals receive peer support for career, they are more likely to develop their sense of career decision self-efficacy and engage in career identity exploration and commitment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82273 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.558 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.558 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270037738.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.