Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82368
Title: มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศ ​: ศึกษาธุรกิจร้านอาหารไทยและธุรกิจไทยสปา
Other Titles: Measures to promote Thai SMEs outward foreign direct investment : a case study of Thai restaurants and spas
Authors: ชนิสา งามอภิชน
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินว่ามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศเพียงพอหรือไม่ รวมถึงประเมินว่าบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชัดเจนหรือไม่ โดยเริ่มต้นจากการแสดงสถานภาพและปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีเกี่ยวกับการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนทางตรงในต่างประเทศ ในส่วนต่อมาเป็นการอธิบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศเพื่อตรวจสอบว่านโยบาย กฎหมาย มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศเพียงพอหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบว่าอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชัดเจนหรือไม่ นอกจากนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการเรื่องเดียวกันของประเทศสิงคโปร์ จีน และสหราชอาณาจักรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาตรการที่ใช้ในต่างประเทศมาพิจารณาเปรียบเทียบและเป็นต้นแบบเพื่อปรับใช้กับประเทศไทย อีกทั้งยังมีในส่วนของกรณีศึกษาการลงทุนทางตรงในต่างประเทศของธุรกิจร้านอาหารไทยและธุรกิจไทยสปาเพื่อทดสอบว่ามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศสามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคแก่ธุรกิจร้านอาหารไทยและธุรกิจไทยสปาได้หรือไม่ ทั้งนี้จากการที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยประกอบธุรกิจหลากหลายประเภท วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เลือกศึกษาธุรกิจร้านอาหารไทยและธุรกิจไทยสปาซึ่งเป็นประเภทธุรกิจที่ดำเนินการโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกือบทั้งหมดและที่สำคัญเป็นธุรกิจที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน   ส่วนสุดท้ายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นบทสรุปที่ได้จากการพิสูจน์ข้อสมมติฐานและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศต่อไปโดยมีบทสรุปและข้อเสนอแนะว่า “มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศยังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาและอุปสรรคในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยอีกทั้งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ชัดเจนโดยยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและยังขาดการติดตามและประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงาน ดังนั้นประเทศไทยควรกำหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวที่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในรูปแบบของ “แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามมาตรา 11(1) ของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 และ “แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประสานกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 11(5) มาตรา 16(3) มาตรา 17(5) มาตรา 37 และมาตรา 38 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543” ทั้งนี้บทสรุปและข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นคุณค่าของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เนื่องจากการมีมาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศตลอดจนการบูรณาการและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานซึ่งเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนย่อมส่งผลให้เกิดการติดตาม การประเมินผลและการพัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศต่อไป เมื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยสามารถจัดตั้งและดำเนินกิจการในต่างประเทศย่อมก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกการลงทุนและนำมาสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป
Other Abstract: This thesis is a study and an evaluation of Thai government supporting measures, implemented to support and promote Thai SMEs conducting outward foreign direct investments. This research will attempt to determine the sufficiency levels of government promoting roles and the measures implemented to both reduce SMEs establishment barriers and to support the development and growth of Thailand SMEs outward foreign direct investment. Thesis analysis will primarily establish grounds on Thai SMEs outward foreign direct investment by exploring status and issues that will be supported by concepts and theories of promoting SMEs growth, concepts regarding the developments of SMEs and concepts directly relating to outward foreign direct investment, to investigate sufficiency of policies, law, and different legal and non-legal measure currently employed. This thesis scope of study will also examine the transparency of authority and clarity of roles attained by Thai government agents. In addition to Thailand, this thesis will also compare different policies, laws, measures and government roles that directly effect the implementation of SMEs promotion citing Singapore, the People's Republic of China, and The United Kingdom as a case study to analyze for measures and concepts that are relevant to the development for Thailand policies and regulations. To allow for the investigation of current government measures performance, Thai Restaurants and Thai Spas are selected for analysis due to the majority are owned by SMEs and their strong competitive business that are well established overseas. Final part of this thesis determines that current measures provided by Thai government at supporting SMEs outward foreign direct investment still lacks many required elements much needed for the market to expand, and the transparency of authority and clarity of government agents are currently intertwined with many important areas neglected. Such issues must be addressed and adjusted from policy levels that leads to creations of plans and action plans necessary for further coordination and developments not only of Thai government agents and Thai SMEs but also including foreign government and non-government foreign bodies. A more efficient and organized structure with sufficient continuous development of rules and regulations will essentially lead to growth of SMEs outward foreign direct investment; transfers of knowhow and technology, developments in product and service standards, increases in employment rate and eventually delivering positive impacts on the growth of Thailand’s economy.   
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82368
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.644
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.644
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886553034.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.