Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82978
Title: กลวิธีทางภาษาในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามเพศหญิงในสื่อสังคมของไทย
Other Titles: Linguistic strategies in the identity construction of female beauty influencers in Thai social media
Authors: อรจิรา คงสมจิตต์
Advisors: เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากลวิธีทางภาษาในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามเพศหญิงในสื่อสังคม ของไทย โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์ 1) รูปแบบ โครงสร้างและองค์ประกอบวาทกรรมของ ผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามเพศหญิงในสื่อสังคมของไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ของผู้มีอิทธิพลทางด้านความงาม เพศหญิง และ 3) บทบาทหน้าที่ของอัตลักษณ์ของผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามเพศหญิง ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เก็บจากเฟซบุ๊ก แฟนเพจของผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามเพศหญิง จำนวน 10 คน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2561 แนวทางการศึกษาคืออัตลักษณ์และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดปริจเฉทวิเคราะห์ ทฤษฎีชาติพันธุ์ วรรณนาแห่งการสื่อสาร และ สื่อสังคมออนไลน์มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์รูปแบบ โครงสร้างและองค์ประกอบวาทกรรม รวมทั้งนำแนวคิดผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมมาใช้วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของอัตลักษณ์ ผลการศึกษาพบว่าวาทกรรมของผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามมิได้ทำหน้าที่เพื่อโฆษณาสินค้าเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ การประกอบสร้างอัตลักษณ์ผ่านลักษณะตัวบทที่มีการผสมผสานปริจเฉทประเภทต่างๆ กล่าวคือ ตัวบทเป็นเรื่องเล่าด้วยภาษาที่เป็น กันเองเหมือนการเล่าเรื่องราวของเพื่อน ในขณะเดียวกันมีการอธิบายข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอาง การนำเสนอเทคนิค และขั้นตอนการแต่งหน้าซึ่งแสดงให้เห็นความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอาง รวมถึงองค์ประกอบการสื่อสารมีส่วนสำคัญต่ออัตลักษณ์คือทำให้ เห็นว่าเฟซบุ๊กแฟนเพจเป็นสื่อสังคมที่ผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามมีอิสระในการนำเสนอตัวตน และปริบททั้งหมดของผู้มีอิทธิพล ทางด้านความงาม ได้แก่ รูปลักษณ์ การศึกษา การทำงาน การมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องเครื่องสำอางส่งผลให้การนำเสนอ ตัวตนมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์พบว่าผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามใช้กลวิธีทางภาษาประกอบสร้าง อัตลักษณ์ 3 ประการ คือ 1) ความเป็นมืออาชีพในเรื่องเครื่องสำอางเป็นการนำเสนอว่าผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องเครื่องสำอางและการแต่งหน้า ติดตามข้อมูลเรื่องเครื่องสำอางสม่ำเสมอ และนำเสนอข้อมูลเครื่องสำอางอย่าง ตรงไปตรงมา 2) ชีวิตที่เพียบพร้อมเป็นการนำเสนอว่าผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามมีชีวิตสมบูรณ์เพียบพร้อมทั้งรูปลักษณ์ภายนอก การศึกษา การทำงาน ลักษณะการใช้ชีวิตและสถานะความสัมพันธ์ และ 3) ความเป็นเพื่อนเป็นการนำเสนอว่าผู้มีอิทธิพลทางด้าน ความงามเป็นเพื่อนที่มีความจริงใจและปรารถนาดีต่อผู้รับสาร อัตลักษณ์เหล่านี้ประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การใช้คำศัพท์ เฉพาะ การใช้ชุดคำศัพท์เกี่ยวกับตัวตน การใช้คำภาษาต่างประเทศ การใช้คำสรรพนาม การให้รายละเอียด การใช้วัจนลีลาแบบเป็น กันเอง การชื่นชมตนเอง การแสดงความปรารถนาดี การแสดงความจริงใจ และการใช้ภาพ การศึกษาบทบาทหน้าที่ของอัตลักษณ์พบว่าผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามประกอบสร้างอัตลักษณ์เพื่อให้ตนเองเป็นที่รู้จัก มีกลุ่มผู้ติดตามจนกลายเป็นบุคคลต้นแบบที่น่าพึงปรารถนาของผู้หญิงคนอื่นๆ อีกทั้งผู้มีอิทธิพลทางด้านความงามสร้างอัตลักษณ์เพื่อ โน้มน้าวใจผู้รับสารให้ต้องการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆตามที่นำเสนอ  
Other Abstract: This thesis aims to study the linguistic strategies in the identity construction of female beauty influencers in Thai social media. It consists of three objectives that are (1) studying structures and elements of the discourse of the female beauty influencers in Thai social media; (2) investigating the relationship between linguistic strategies and the identity of female beauty influencers; (3) analyzing the functions of the identity of female beauty influencers. The data is collected from the Facebook fan pages of ten female beauty influencers from January 1 to December 31,2018. The concept of identity and the relationship between language and identity is used in the study. In terms of analyzing structures and elements of the discourse, the concept of discourse analysis, the theory of ethnography of communication and social media are employed. In addition, the concept of social media influencer is used to study the function of the identity of female beauty influencers. The result indicates that the discourse of beauty influencers is not only used for advertising products, but it also constructs an identity by using a text structure which combined different types of discourse. The discourse is a narrative that uses informal language as a friend telling a story. At the same time, the discourse is an explanation of the knowledge of cosmetics and the process of applying makeup, which shows the knowledge of cosmetics of beauty influencers. Including, communication elements play an important role in identity. It shows that the Facebook fan page is a social media where beauty influencers are free to express themselves, and the context of a beauty influencers, namely appearance, education, occupation and having knowledge and experience in cosmetics, affects identity credibility. An analysis of the relationship between language and identity reveals that beauty influencers use linguistic strategies to construct three identities: (1) cosmetic professional identity, which suggests that beauty influencers have expertise in cosmetics and makeup and regularly update information about cosmetics and present cosmetic information clearly. (2) a perfect life identity, which suggests that beauty influencers have a perfect life in terms of appearance, education, work, lifestyle, and relationship status. (3) friendliness identity, which suggests that beauty influencers are sincere friend and have goodwill with the audiences. These identities are built through linguistic strategies: jargon, vocabulary about identity, foreign language, pronoun, giving detail, casual language style, self-praising, expression of good wish, expression of sincerity and illustration. A study of the functions of identity reveals that beauty influencers construct their identities to gain recognition and followers and become desirable role models for other women. In addition, beauty influencers construct identities to convince audiences to consume various products and services as presented.  
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82978
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.714
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.714
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5980172622.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.