Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83743
Title: โครงการ สัณฐานกรุงเทพบนเครือข่ายคลองสวนโบราณ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Bangkok morphology based on traditional orchard waterway network
Authors: เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สวนผลไม้ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2553
Publisher: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Abstract: การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่คำนึงถึงบริบททางภูมิศาสตร์ลุ่มแม่น้ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัยทั้งในระดับอนุภาคและมหภาค ทั้งที่มีงานศึกษาและบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์ยืนยันถึงลักษณะการตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมบริเวณศูนย์กลางของกรุงเทพและปริมณฑล หรือบางกอก ว่าได้รับการบุกเบิกให้เป็นชุมชนสวนผลไม้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัณฐานและการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายคลองสวนผลไม้ บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการสร้างแผนที่เชิงวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเครือข่ายลำคลองกับรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ทั้งในระดับมหภาคครอบคลุมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในระดับอนุภาคครอบคลุมพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ จากแผนที่ประวัติศาสตร์บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถประมวงข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่ ลักษณะบางประการจากสัณฐานการตั้งถิ่นฐานของ “บาง” ในอดีต แสดงให้เห็นว่าชุมชน “บาง” มีวิวัฒนาการพร้อมกับการพัฒนาเครือข่ายลำคลองสวนผลไม้บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ประเภทของลำน้ำที่พัฒนาขึ้นมานี้มีอยู่ 5 ประเภท ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาและขยายขอบเขตพื้นที่ชุมชนสวนผลไม้บริเวณบางกอก เครือข่ายลำคลองสวนผลไม้ในกรุงรัตนโกสินทร์ที่พัฒนาขึ้นมาก่อนสถาปนากรุงมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากเครือข่ายคลองคูเมืองใหม่
Other Abstract: According to a lot of researches and historical documents, it is clear that the center area of Bangkok and its vicinity, or Bangkok in the old time, was basically reclaimed and developed into an orchard settlement since Ayudhya period. Without any consideration of that deltaic topographical background, the improper development of built-up area in Bangkok and its vicinity has an effect directly to a living environment in macro and micro scale. This study has an aim to clarify the morphology and transformation of orchard waterway network in Bangkok and its vicinity. This was conducted by analytical mapping from the historical maps of Bangkok and its vicinity, to identify and demonstrate the correlation of waterway network and the settlement features in macro scale of Bangkok and its vicinity, and in micro scale of Rattanakosin area. The significant points are clear as following; (1) Some specific characteristics from the morphology of Bang settlement in the old time shows that Bang settlement in Bangkok and its vicinity was developed along with an orchard waterway network since Ayudhya period, (2) The orchard settlement features had a correlation to the boundary of orchard and 5 types of waterways, classified from an orchard waterway network in Bangkok and its vicinity, (3) Orchard waterway network, which was developed before the establishment of Rattanakosin, has a different transformation features from City moat waterway network
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83743
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arch - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Terdsak_Ta_Res_2553.pdfรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์52.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.