Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธงชัย งามประเสริฐวงศ์-
dc.contributor.authorอาจอง ประทัตสุนทรสาร-
dc.contributor.authorพชรพล จุ่มศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-11-29T09:44:31Z-
dc.date.available2023-11-29T09:44:31Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83784-
dc.description.abstractค้างคาวแม่ไก่เกาะ Pteropus hypomelanus จัดอยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคาม มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกล่าได้ง่าย และมีความสามารถในการกระจายและอาณาเขตหากินที่จำกัด โดยในประเทศไทยจะพบเฉพาะบนเกาะบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์ประชากรของค้างคาวแม่ไก่เกาะในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยทำการเก็บตัวอย่างมูลและเนื้อเยื่อของค้างคาวจากพื้นที่เกาะจานและเกาะครามใหญ่ จังหวัดชลบุรี เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา มาสกัดดีเอ็นเอและเพิ่มจำนวนยีนบริเวณ mitochondrial control region โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) ผลจากการวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอพบจำนวนแฮปโพล์ไทป์ (478 bp) ทั้งสิ้น 16 แบบจาก 24 ตัวอย่างดีเอ็นเอ โดยมีตำแหน่งนิวคลีโอไทด์ที่ผันแปรจำนวนทั้งสิ้น 49 ตำแหน่ง มีความหลากหลายของนิวคลีโอไทด์เท่ากับ 0.03213 และมีความหลากหลายของแฮปโพล์ไทป์เท่ากับ 0.960 ทั้งนี้พบว่ามีการกระจายของแฮปโพลไทป์แบบเดียวกันในหลายพื้นที่รวมทั้งระหว่างเกาะจานและหมู่เกาะสิมิลันซึ่งมีระยะห่างกันประมาณ 600 กิโลเมตร ผลการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ถึงการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างประชากรที่อยู่ห่างไกลกันและความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มประชากรค้างคาวแม่ไก่เกาะในประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการจัดการและวางแผนการอนุรักษ์ค้างคาวแม่ไก่เกาะในประเทศไทยen_US
dc.description.abstractalternativeIsland flying fox Pteropus hypomelanus is one of threatened species with high extinction risk due to limited dispersal ability, small home ranges and high hunting pressure. In Thailand, island flying fox can be found on islands along the coast in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea. In this study, population genetic relationship of island flying foxes in the area of Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn was investigated. DNA was extracted from tissue and fecal samples (n=24) obtained from Chan, Khram Yai and Talu Islands in the Gulf of Thailand, and Similan islands in the Andaman Sea. Mitochondrial control region was amplified and sequenced. A total of 16 haplotypes (478 bp) were obtained with 49 variable positions. Nucleotide diversity was 0.03213, whereas overall haplotype diversity was 0.960. Interestingly, shared haplotypes were detected at all localities including Chan and Similan islands which were approximately 600 kilometers apart. Our results suggest substantial gene flow among populations and panixia paradigm in Thai island flying foxes. This information would be helpful for conservation management and planning in island flying foxes.en_US
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectค้างคาวen_US
dc.subjectสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมen_US
dc.titleพฤติกรรมและนิเวศวิทยาบางประการของค้างคาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : รายงานผลการดำเนินงานen_US
dc.title.alternativeBehaviour and ecology of bats and small mammals in the RSPG areaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Artong_Pr_Res_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)15.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.