Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8411
Title: การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ
Other Titles: Development of flexible stick exercise model for the elderly
Authors: พัทธวรรณ ละโป้
Advisors: ดรุณวรรณ สุขสม
สุทธิลักษณ์ ปทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: daroonwanc@hotmail.com
medspr@hotmail.com
Subjects: ผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่น เป็นนวัตกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านด้วยการใช้อุปกรณ์ไม้ยืดหยุ่น ที่เป็นไม้ไผ่ยาว 15 ซม. 2 ท่อน เชื่อมต่อด้วยหนังยางที่ร้อยต่อกันยาวประมาณช่วงไหล่ของผู้ออกกำลังกาย 2 เส้น ถูกคิดค้นขึ้นโดย ดร. ดรุณวรรณ สุขสมและคณะ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นที่สร้างขึ้นต่อสุขสมรรถนะ และการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสในผู้สูงอายุ รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุที่สร้างขึ้นนี้ มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่องประยุกต์มาจากวัฒนธรรมไทย ได้แก่ รำไทย และรำกระบี่กระบอง สอดคล้องกับเพลงประกอบการออกกำลังกายที่เป็นเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทย ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ไม้ยืดหยุ่นที่มีการคิดค้นท่าทางให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยสามารถออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย ท่าออกกำลังกายมีทั้งหมด 83 ท่า รวมท่าอบอุ่นร่างกาย 13 ท่า และท่าผ่อนคลาย 13 ท่า ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาที่ระดับมาก รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีความเที่ยง โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายช่วงความหนักสูงสุด 2 ครั้ง พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ทดลองออกกำลังกายอยู่ในระดับดีมาก การออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีการใช้ออกซิเจน ประมาณ 14.5 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที ถือว่าเป็นการออกกำลังกายความหนักระดับปานกลาง นำรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นที่สร้างขึ้นมาฝึกในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุของศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง อายุเฉลี่ย 70.29+-2.51 ปี เพศหญิง จำนวน 17 คน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 4 วันๆ ละ 40 นาที ก่อนและหลังการออกกำลังกาย วัดตัวแปรทางสรีรวิทยาทั่วไป สุขสมรรถนะ และการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียส นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์หา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึกออกกำลังกาย โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair-t test) ภายหลังการฝึกการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่น 12 สัปดาห์ พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิต และเปอร์เซ็นต์ไขมันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด และสัดส่วนการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสสูงสุดหลังการปิดกั้นการไหลของเลือดต่อการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสขณะพักมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ระดับพลาสมาลอนไดอัลดีไฮด์ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การทำลายของอนุมูลอิสระ และคอลเลสเตอรอลมีค่าลดต่ำลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในการเพิ่มสุขสมรรถนะ และชะลอความเสื่อมของเซลล์บุผนังหลอดเลือด โดยการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีผลช่วยลดไขมัน และอนุมูลอิสระในร่างกายของผู้สูงอายุ
Other Abstract: Exercise training with flexible stick (EF) is the exercise innovation that combine aerobic and resistance exercise training. EF training was constructed by Dr. Suksom D. and colleague. It used the equipment, flexible stick that made by two of bamboo sticks and two of the rubber circle strings. The purposes of this study were to develop the flexible stick exercise model for the elderly and to study the effects of EF on health-related physical fitness and cutaneous blood flow in the elderly women. About the development of EF for the elderly, we designed the continuous motion of major muscle applied from Thai culture, Thai dance and Ram Krabi-Krabong compatible with Thai instrumental music. The model of exercise was designed for the elderly to exercise all parts of the body. These EF has 83 postures including 13 warm up postures and 13 cool down postures. The content validity of EF is good for the experts opinion. EF model had the good reliability by no significant difference between 1st and 2nd times of the heart rate monitoring through the bout of exercise. The oxygen consumption of this exercise was 14.5 ml/kg/min represent the moderate intensily exercise. EF was used to be exercise training for the seventeen subjects who were female aging (aged 70.29+-2.51 years) in Dindaeng services center for the elderly. The subjects were participated in an intervention program of EF with 40 min/day, 4 day/wk for 12 weeks. Before and after training, physiological characteristic parameters, health related physical fitness and cutaneous blood flow (CBF) were measured. Plasma malondialdehyde (MDA) and lipid profile levels were also determined. After 12 weeks EF training, the subjects had lower in resting heart rate, blood pressure and the percentage of body fat (p<0.05). There were significantly greater in muscular strength, flexibility, maximal oxygen consumption and peak CBF/resting CBF after EF training (p<0.05). Plasma malondialdehyde, an indicator of free radical damaging and cholesterol levels after EF training were significantly lower (p<0.05, 0.01) than those of pre-training. Our results indicated that 12 weeks EF had health benefits for the elderly. EF was effectively in promoting health related physical fitness and improving endothelial function by ameliorating cholesterol and reactive oxygen species in the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8411
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1484
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1484
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattawan.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.