Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84590
Title: บทบาทของญี่ปุ่นต่อความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก ภายหลังการถอนตัวของสหรัฐอเมริกา
Other Titles: Japan’s role in the trans-pacific partnership (TPP) after the withdrawal of the United States
Authors: ภัทรพล จันทร์เทพา
Advisors: ธีวินท์ สุพุทธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ญี่ปุ่นเข้าร่วมการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ในเดือนมีนาคม 2013 เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจคือ การใช้ TPP เป็นส่วนหนึ่งแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้นโยบาย Abenomics ของรัฐบาลอาเบะ และบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคงคือ การใช้เป็นเครื่องมือในการถ่วงดุลกับการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของจีน และกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม 2017 รัฐบาลทรัมป์ถอนตัวจากความตกลง TPP รัฐบาลอาเบะจึงพยายามโน้มน้าวให้สหรัฐฯ กลับมาเข้าร่วม พร้อมกับดำเนินบทบาทนำในการเจรจาระหว่างสมาชิกที่เหลือ 10 ประเทศ จนนำไปสู่การลงนามบนความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ในเดือนมีนาคม 2018 ในกรณีของการดำเนินบทบาทนำอย่างกระตือรือร้นของรัฐบาลญี่ปุ่น ภายหลังการถอนตัวของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การศึกษาการใช้ความตกลง CPTPP เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจในการถ่วงดุลกับการขยายอิทธิพลของจีน ผ่านแนวคิดการถ่วงดุลอำนาจแบบอ่อน (soft balancing) และแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ (economic security) เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงอธิบายและวิเคราะห์การใช้ CPTPP เป็นเครื่องมือ โดยการใช้บทบัญญัติที่มีมาตรฐานระดับสูง ประกอบกับใช้เป็นช่องทางการกลับมามีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับประเทศที่มีค่านิยมเดียวกัน และใช้ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของญี่ปุ่น
Other Abstract: In March 2013, Japan joined the negotiations for the Trans-Pacific Partnership (TPP) with the goal of achieving economic objectives as part of the Abenomics policy under the Abe government. Additionally, Japan aimed to use the TPP as a tool to counterbalance the rising influence of China and to strengthen its relations with the United States in the Asia-Pacific region. However, in January 2017, the Trump administration withdrew from the TPP agreement. Subsequently, the Abe government made efforts to persuade the United States to rejoin the TPP, while taking a leading role in the negotiations among the remaining 10 member countries. This eventually led to the signing of the Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) in March 2018. In the case of Japan, the government played a proactive role in leadership following the withdrawal of the United States. As a result, this led to the study of utilizing the CPTPP as an economic tool to balance against China's influence, through the exploration of soft balancing concept and the economic security concept. In order to demonstrate the policy approach of Japan, this dissertation elucidates and analyzes how Japan utilizes CPTPP as a tool. It examines the application of high-standard provisions as well as its function as a platform for the reengagement of the United States, serving as a space for like-minded nations sharing similar values. Furthermore, the CPTPP is instrumental in achieving the objectives outlined in Japan's national security strategy.
Description: สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84590
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480104124.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.