Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8478
Title: แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษหน้า
Authors: อาชัญญา รัตนอุบล
รัตนา พุ่มไพศาล
เกียรติวรรณ อมาตยกุล
อรพินท์ วิบูลย์พันธุ์
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
มนัสวาสน์ โกวิทยา
วรรัตน์ อภินันท์กูล
ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
Email: Archanya.R@chula.ac.th
Ratana.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
wirathep@yahoo.com
ไม่มีข้อมูล
aeworarat@yahoo.com
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- ไทย
การศึกษาต่อเนื่อง -- ไทย
การจัดการศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง ”แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษหน้า” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มหรือทิศทางที่เหมาะสมของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2555 ในด้านปรัชญา แนวคิด กลุ่มเป้าหมายของการศึกษานอกระบบโรงเรียน ด้านบทบาทของการศึกษานอกระบบโรงเรียน ด้านหลักสูตร เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบโรงเรียน ด้านการบริหาร การจัดการและการประสานงานการศึกษานอกระบบโรงเรียน และด้านการประเมินและติดตามผลการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 770 ท่าน ประกอบด้วย หัวหน้าภาควิชาหรือประธานสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องในมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตหรืออำเภอ อธิบดีกรม ผู้อำนวยการฝ่าย และหัวหน้าหน่วยหรือแผนกขององค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรมนุษย์และฝึกอบรมของภาคเอกชน และผู้อำนวยการ ประธานและหัวหน้าของมูลนิธิ สมาคมหรือสถาบัน ที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ข้อมูลที่รวบรวมได้จะนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวโน้มด้านปรัชญาและแนวคิดของการศึกษานอกระบบโรงเรียนจะเน้นการศึกษาตลอดชีวิตที่เชื่อในความเสมอภาคของโอกาสในการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่ให้เสรีภาพและอิสระในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะยึดปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงการ จะมุ่งพัฒนาศักยภาพส่วนตน การพึ่งตนเอง การมีคุณธรรมและความสัมพันธ์ของบุคคลอันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนของตนเอง กลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ เกษตรกรในชนบท กลุ่มแรงงานในโรงงาน พนักงานในสถานประกอบการ บริษัทห้างร้าน ประชาชนในชุมชนแออัด เด็กเล็ก เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ปัญหาพิเศษ เช่น เด็กเร่ร่อน ผู้ค้าประเวณี ชนกลุ่มน้อย โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาจากในระบบโรงเรียน 2. แนวโน้มด้านบทบาทของการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสามารถของประชาชนอย่างยั่งยืน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติและเศรษฐกิจ พัฒนาชุมชนและสังคม และพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะและการเมือง 3. แนวโน้มด้านหลักสูตร เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบโรงเรียนนั้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบโรงเรียนขั้นพื้นฐานจะลดความสำคัญลง โดยที่หลักสูตรเป็นหลักสูตรที่มีชุมชนและสถานประกอบการเป็นฐาน มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของบุคคลและชุมชน มีความทันสมัย เนื้อหาในหลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ในการทำงาน การประกอบอาชีพและวิถีชีวิต สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมจะเป็นการศึกษาเพื่อมวลชน ช่วยพัฒนาสถาบันครอบครัวและชุมชน พัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจตนเอง ชุมชนและสังคม และเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจากการประยุกต์ใช้ความรู้จากประสบการณ์จริง 4. แนวโน้มด้านการบริหาร การจัดการและการประสานงานการศึกษานอกระบบโรงเรียน การบริหารจะเน้นการกระจายอำนาจสู่ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ หรือสถานศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน มีบริการชุมชนทำให้เป็นสถานศึกษาของชุมชน มีการระดมทรัพยากรจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆในชุมชน ในการจัดการศึกษา และมีเอกภาพด้านการกำหนดนโยบาย แต่มีความหลากหลายในการปฏิบัติ สำหรับการจัดการและการประสานงานนั้น จะดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย มีการปรับระเบียบกฎเกณฑ์ในการจัดการให้ยืดหยุ่น มีการเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน องค์กรเอกชน สถาบันและหน่วยงานต่างๆในการวางแผนและการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย 5. แนวโน้มด้านการประเมินและติดตามผลการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน จะมีสถาบันที่ช่วยดูแลมาตรฐานการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการประเมิน จะเป็นการประเมินที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามสภาพจริง เพื่อช่วยแนะนำและแก้ปัญหาให้ผู้เรียน โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณภาพของการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งมีการติดตามผลของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the trends or the appropriate directions of the non-formal education organization of Thailand in the next decade between 2545-2555 B.E. in the aspects of (1) philosophy, concepts and target groups of non-formal education (2) roles of non-formal education (3) curriculum, contents and instructional activities of non-formal education (4) the administration, management and co-ordination of non-formal education and (5) evaluation and follow-up. The research samples which were selected by the purposive sampling technique were comprised of 770 samples such as (1) 7 heads of departments in the university which provided education that related with non-formal education, adult education or continuing education (2) 7 directors of continuing centers in the universities (3) 5 directors of non-formal education centers of 5 regions (4) 79 directors of non-formal education centers of provinces in the northern, north-eastern, eastern, southern, middle region and Bangkok metropolis (5) 44 directors of non-formal education centers of district in Bangkok (6) 510 directors of non-formal education centers of district in 5 of the regions (7) 53 director generals, directors and heads of bureaus, departments and offices of various of the ministry of the government and state enterprises (8) 15 managers and heads of human resource management or training department in private sectors (9) 50 directors, chairmen and heads of foundations, associations and institutes in non-government organizations. The research instrument was questionnaire related to trends in the organization of non-formal education of Thailand in the next decade. The data was analyzed by ways of mean and standard deviation. The finding suggested that: 1. The trends in the aspect of philosophy, concepts and target groups of non-formal education were that the organization non-formal was emphasized in lifelong learning concepts, the individual differences and freedom in learning, target groups’ problem and need, including target groups’ participation in determination of the non-formal education program. The purposes of the non-formal education organization were the development self potential, self-reliance, morality, relationship among people in the communities which was led to self community development. The target groups were farmers in rural areas, workers in factories, enterprises, companies and shops, people in congested areas, children and youths who missed occasion to study in the formal education, early childhood, unemployed persons and elder, including to people who had exceptional problems such as street children, prostitutes and minority groups. 2. The trends in the aspect of the roles of non-formal education were that develop the quality of life and abilities of people (sustainable and modern knowledge and skills, attitude, and economy), the development communities and society and development of public and political consciousness for people. 3. The trends in aspect of curriculum, contents and instructional activities were that the non-formal education curriculums were flexible and suitable to problems and needs of people and were community, local or enterprise based curriculums. Contents in curriculum should be practical in working, careers, the way of life, enhanced knowledge and skills in changing science and technology and related with the present and future of society. Activities should be aimed to education for all, to develop family institute and community, to develop learners to understand themselves, communities and society and they should be emphasized to use the thinking process and knowledge applying from real experiences. 4. The trends in the aspect of administration, management and co-ordination were that the administration and should be community, learning centers or educational place centered administration which organized non-formal education and informal education, supported education resources to be institute of community and had the unity of policy determination but variety in action. For management and co-ordination, it should be implemented by using varied networks, had flexible orders for management and supported the participation of people in communities, institutions and offices to plan and implement the non-formal education and informal education. 5. The trends in the aspect of evaluation and follow-up were that there should be institutes or offices to mentor the standards of non-formal education and informal education. In educational achievement evaluation, it should be emphasized on the learner-centered evaluation to consider from the learner’s development and progress than contents, problem-solving abilities, creative thinking, quality of practice than theoretical knowledge and relationship between learners and colleagues. Moreover, there should be various evaluation models which were depended on suitability of learners and the purposes of evaluation and should be used for guidance and the learner’s solving. The last, there should be followed-up the progress and applying the knowledge of learners.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8478
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Archanya.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.