Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8555
Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณภาพการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบล
Other Titles: A factor analysis of educational management quality of child care centers under subdistrict administration organizations
Authors: นงลักษณ์ โกศรี
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirchai.k@chula.ac.th, skanjanawasee@hotmail.com
Subjects: การศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัย -- มาตรฐาน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบล
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1) องค์ประกอบคุณภาพการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลจำแนกตามภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows สำหรับวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้โปรแกรม LISREL สำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบคุณภาพการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล มีจำนวน 7 ด้าน และประกอบด้วยตัวบ่งชี้ทั้งหมด 79 ตัว ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านคุณภาพเด็ก ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 12 ตัว 2) องค์ประกอบด้านบุคลากร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 16 ตัว 3) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 9 ตัว 4) องค์ประกอบด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 11 ตัว 5) องค์ประกอบด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 9 ตัว 6) องค์ประกอบด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 14 ตัว และ 7) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 8 ตัว 2. โมเดลโครงสร้างคุณภาพการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 914.41 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1401 ระดับความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.95 ค่า AGFI เท่ากับ 0.89 ค่า RMR เท่ากับ 0.044 และได้องค์ประกอบคุณภาพการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล เรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบจากมากไปน้อยคือ 1) การบริหารจัดการ 2) บุคลากร 3) วิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร 4) ความปลอดภัย 5) อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 6) การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน และ 7) คุณภาพเด็ก 3. สภาพปัญหาการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนแนกตามภูมิภาค พบว่า สภาพปัญหาการจัดการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ภาคใต้มีสภาพปัญหาการจัดการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือมีสภาพปัญหาการจัดการศึกษาน้อยที่สุด
Other Abstract: To 1) study the factors of educational management quality of child care centers under subdistrict administration organizations 2) study and compare the problem of educational management of child care centers under subdistrict administration organizations at different regions. The samples of this research consisted of 1) the sample for interviewing consisted of 10 experts whose expertise about educational management of child care centers 2) the sample for answering the questionnaire consisted of 448 managers who manage child care centers under subdistrict administration organizations. The data of this research were collected by using interview schedual and questionnaire, and analyzed descriptive statistics and one-way analysis of variance through SPSS for windows, and second order confirmatory factor analysis through LISREL. The following conclusions were drawn based on the finding of this research 1. The factors of educational management quality of child care centers under subdistrict administration organizations consisted of 7 factors and 79 indicators; 1) child quality factor consisted of 12 indicators 2) personnel factor consisted of 16 indicators 3) management factor consisted of 9 indicators 4) academic and activity in terms of course factor consisted of 11 indicators 5) building and environment factor consisted of 9 indicators 6) safety factor consisted of 14 indicators and 7) participation and support by community factor consisted of 8 indicators. 2. The structural model of educational management quality of child care centers under subdistrict administration organizations were consistent with empirical data with chi-square = 914.41, df = 1401, p = 1.00, GFI = 0.95, AGFI = 0.89, and RMR = 0.044. The factors of educational management quality of child care centers under subdistrict administration organizations were ranged from the highest factor loading, they were 1) management 2) personnel 3) academic and activity in terms of course 4) safety 5) building and environment 6) participation and support by community and 7) child quality. 3. The problems of educational management of child care centers under subdistrict administration organizations were different based on region at .05 level of statistical significant. The most problem of educational management was in the South, then the North-East, the Central, and the least problem of educational management was in the North.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8555
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.512
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.512
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongluk_Ko.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.