Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8694
Title: ค่าการทำงานของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรส ในซีรั่มและพยาธิสภาพของตับในไก่ไข่ที่สัมผัสคาร์บาริลในขนาดที่ใช้รักษาโรคปรสิตภายนอก : รายงานวิจัย
Other Titles: Serum cholinesterase activity and histopathology of livers in laying chicks (Gallus domesticus) exposed to carbaryl at therapeutic doses for ectoparasitic treatment
Authors: ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย
นิวัตร จันทร์ศิริพรชัย
Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: คาร์บาริล
ปรสิตวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์
โคลีนเอสเทอเรส
ไก่ไข่
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของคาร์บาริลในขนาดที่ใช้รักษาโรคปรสิตภายนอกต่อค่าการทำงานของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในซีรั่มไก่ไข่ โดยแบ่งไก่ไข่อายุ 11 สัปดาห์ออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 20 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับคาร์บาริล กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับคาร์บาริลโดยวิธีจุ่มตัวที่ขนาดความเข้มข้นในระดับรักษาโรคปรสิตภายนอกตามคำแนะนำที่มีแหล่งอ้างอิงคือ 5 พีพีเอ็ม และกลุ่ม ที่ 3 เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับคาร์บาริลโดยวิธีจุ่มตัวที่ขนาดความเข้มข้นในระดับรักษาโรคปรสิตภายนอกที่มีการใช้ในทางปฏิบัติจริงคือ 50 พีพีเอ็ม ตรวจวัดค่าการทำงานของเอนไซม์โฆลีนเอส เทอเรสในซีรั่มไก่แต่ละตัวใน ทุกกลุ่มที่ 24, 36, 48 และ 96 ชั่วโมงหลังสัมผัสสารพบว่า ไก่ในกลุ่มที่2 และ 3 มีค่าการทำงานของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)เมื่อตรวจวัดที่ 24 ชั่วโมงหลังสัมผัสสาร แต่ไก่กลุ่มที่ 3 มีระยะเวลาในการคืนกลับของค่าการทำงานของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสสู่ระดับปกติที่ช้ากว่าไก่ในกลุ่มที่ 2 นอกจากนี้การศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาของตัวอย่างตับไก่ยังบ่งชี้ให้เห็นถึงรอยโรคที่เซลล์ตับในไก่กลุ่มที่ 3 ซึ่งได้รับคาร์บาริลในขนาดความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษที่ไม่ทำให้ไก่ตายเมื่อได้รับคาร์บาริลในขนาด 50 พีพีเอ็ม
Other Abstract: The effect of carbaryl at therapeutic doses for ectoparasitic treatment in laying chicks was evaluated by the measurement of serum cholinesterase (ChE) activity. Eleven – week - old chicks were divided into 3 groups of 20 each. All chicks in group 2 were bathed with 5 ppm of recommended therapeutic dose of carbaryl, while all chicks in group 3 were bathed with 50 ppm of practical therapeutic dose of carbaryl. Group 1 acted as a control group. Serum ChE activity in all the chicks were measured at 24, 36, 48 and 96 hr after exposure. A significant reduction of serum ChE activity was found in groups 2 and 3 (p < 0.05) at 24 hr after exposure when compared to the control group but the longer recovery period to the normal value of ChE activity in the group 3 was shown when compared to group 2. Furthermore, lesions from histopathological study of hepatic cells in group 3 indicated that sublethal effect occurred when carbaryl at the dosage of 50 ppm is used for ectoparasitic treatment in chicks.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8694
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_ser.pdf453.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.