Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8884
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุนทางโลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า |
Other Titles: | Logistics cost analysis for physical distribution |
Authors: | วลัยพันธ์ เธียรไทย |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ ดวงมณี โกมารทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kamonchanok.s@chula.ac.th fcomdko@hotmail.com |
Subjects: | การบัญชีต้นทุนกิจกรรม การกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค การบริหารงานโลจิสติกส์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารงานกระจายสินค้า และการบริหารงานจัดส่งของศูนย์กระจายสินค้า โดยมีการนำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงมาศึกษา เพื่อหาความสัมพันธ์ของต้นทุนและกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินงาน ในการศึกษานี้ ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายรายเดือนตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ในปี 2548 มาเฉลี่ยเพื่อใช้ในการปันส่วนต้นทุน และได้ศึกษากิจกรรมการดำเนินในศูนย์กระจายสินค้าอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมและจัดตั้งศูนย์กิจกรรมในการปันส่วนค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้นทุนที่ใช้ในการปันส่วนนั้นแยกออกเป็น 2 ด้าน คือ ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากร โดยค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรนั้น จะใช้ตัวผลักดันกิจกรรมได้แก่สัดส่วนเวลาการทำกิจกรรมของพนักงานในแต่ละตำแหน่งงาน ในการปันส่วนค่าใช้จ่าย ส่วนต้นทุนด้านทรัพยากรนั้น ใช้ตัวผลักดันทรัพยากรในการปันส่วนค่าใช้จ่าย โดยพิจารณาว่ากิจกรรมใดใช้ทรัพยากรในการดำเนินการเป็นสัดส่วนเท่าไร แล้วจึงปันส่วนค่าใช้จ่ายเข้าสู่ศูนย์กิจกรรมที่กำหนด เมื่อได้ผลการปันส่วนค่าใช้จ่ายทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรแล้ว ก็นำผลจากการปันส่วนค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ด้านมารวมกันเพื่อจัดทำเป็นต้นทุนกิจกรรมของแต่ละศูนย์กิจกรรม ผลจากการศึกษาพบว่ามีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมจากิจกรรมทั้งหมด 17 กิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายจ่ายถึง 51% จากรายจายทั้งหมดของศูนย์กระจายสินค้า ได้แก่ กิจกรรมการจัดเก็บสินค้า กิจกรรมการบริหารงานคลังสินค้า และกิจกรรมจัดเตรียมสินค้า ในส่วนของกิจกรรมการจัดเก็บสินค้านั้น ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เกิดจากค่าเสื่อมราคาอาคาร และค่าเช่าพาเลท กิจกรรมการบริหารงานคลังสินค้ามีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จากผลตอบแทนของผู้บริหาร ในขณะที่กิจกรรมการจัดเตรียมสินค้า มีค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จากค่าเสื่อมราคาอาคาร และค่าเช่ารถยก เนื่องจากค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ถาวรดังนั้นการปรับลดจึงทำได้ยาก ถ้าต้องการลดค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการจัดเก็บและจัดเตรียมสินค้า ก็ควรที่จะพิจารณาต่อรองเรื่องค่าเช่ารถยกและค่าเช่าพาเลท กรณีที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายของกิจกรรมการบริหารคลังสินค้า ควรมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้บริหารมากขึ้น เพราะสัดส่วนการปันส่วนค่าใช้จ่ายผลตอบแทนของผู้บริหารในกิจกรรมนี้จะลดลง |
Other Abstract: | To analysis the activity based costing of distribution and transport management at a distribution center. This study used real operational data to find a relationship between activities and operation costs. The operation expenses in the study were collected from January-December 2005. The monthly average expenses are used in a cost allocation to each activity center. The allocation costs are classified in two categories which are cost of human resources and cost of physical resources. Cost of human resources use a proportion of working hours as an activity driver to allocate the activity costs. Where as cost of physical resources use the consumption rate of each resource as a resource driver to allocate the activity costs. Both activities will then be combined and sorted out to related activity center. From this study, there are 3 main activities from the total of 17 activity centers which consume half of the operation cost in this distribution center. These activities are put-away & storage, warehouse management, and dispatching preparation. The major costs within a put-away & storage activity are building depreciation and pallet rental cost. As for a warehouse management activity, the cost mainly comes. From wages and salary of manager positions. Most of the dispatching preparation cost also comes from a building depreciation and a reach-truck rental cost. To reduce the depreciation cost will be difficult since fix assets could not be terminated in a short term. Therefore, management should find the way to reduce other costs such as renegotiate rental cost of pallet and reach-truck or consider give more responsibilities to manager positions if needed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8884 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.190 |
ISBN: | 9741434804 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.190 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vlaipan_Th.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.