Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8981
Title: แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Ecotourism management guidelines for Khiriwong community, Lansaka district, Nakhon Si Thammarat province
Authors: สาทิศ สุขผ่องศรี
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: ชุมชนคีรีวง (นครศรีธรรมราช)
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวงในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอนาคต ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคีรีวงกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและองค์ประกอบ หรือ ปัจจัยในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยวิเคราะห์ปัญหาในด้านต่างๆ ของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนคีรีวงเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ โดยชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวงเป็นผู้ปฏิบัติในการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ได้แก่ ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ศึกษาธรรมชาติบนยอดเขาหลวงและศึกษาวิถีชีวิตชุมชนรวมทั้งศึกษาธรรมชาติบนยอดเขาหลวงแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอนาคตจะดีขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคีรีวงกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับและผลกระทบที่เกิดขึ้น องค์ประกอบ หรือ ปัจจัยในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มี 2 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยภายในและภายนอก ปัญหาในด้านต่างๆ ของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ ปัญหาด้านกายภาพ เศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคอันเป็นข้อจำกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยภาพรวมแล้วผลกระทบด้านกายภาพมีมากกว่าด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านวัฒนธรรม แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง สรุปได้ว่า รูปแบบควรดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลกำโลนร่วมกับพหุภาคีที่เกี่ยวข้อง จึงจะเหมาะสม โดยจัดการ 4 ด้าน ตามหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว การจัดการกิจกรรมและกระบวนการ การจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนและการจัดการที่ยั่งยืนในทุกๆ ด้าน
Other Abstract: The purposes of this study were to research into current conditions and patterns of ecotourism in Khiriwong community including the future trend of the ecotourism there and to study the relationship between Khiriwong community and ecotourism and components or factors of ecotourism management. The problems were analyzed by taking various aspects concerning the community, its ecotourism management and effects of the management into consideration. In this regard, guidelines for ecotourism management in Khiriwong community were proposed. The results were that in terms of tourism conditions in this community, Khiriwong community was a cultural tourist atraction. There is Khao Luang National Park, a natural tourist attraction, nearby. The Ecotourism Club at Khiriwong managed the tourism there under the supervision of Gumlone Subdistrict Council. Three patterns of tourism include tourism studying the way of life in the community, tourism studying nature in Khao Luang and tourism studying both the way of life in the community and nature in Khao Luang. The future trend of ecotourism will be better. There were two types of relationship between the community and ecotourism. They were the benefits the community gained and the effects. In general, the physical effects outweighed economic, social and cultural effects. There were two components or factors of ecotourism management. They were the internal and the external factors. Other problems of the community related to ecotourism management were physical problems, economic problems and the limitations of Gumlone Subdistrict Council in managing ecotourism. As regards guidelines for managing ecotourism in Khiriwong community, it can be concluded that Gumlone Subdistrict Council should manage this tourism by organizing related groups of committees to take care of the four basic principles of ecotourism. They were management of tourist attraction areas, activity management and procedure, management of community participation and sustainable management.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8981
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.131
ISBN: 9741302509
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.131
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Satis.pdf20.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.