Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8987
Title: การเปลี่ยนแปลงสัญญะและรหัสของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในประเทศไทย
Other Titles: The transformation of sign and code of Buddhist architecture and art in Thailand
Authors: รังสรรค์ เจริญพันทวีสิน
Advisors: โอฬาร วงศ์บ้านดู่
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา -- การออกแบบ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความหมายของสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมทางพุทธศาสนา ที่มีการดัดแปลงสัญญะ และรหัส ที่ผู้ออกแบบต้องการสื่อ การรับรู้ถึงความหมายและการตีความของพุทธศาสนิกชนชาวไทยต่อสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเหล่านั้น และศึกษาถึงบทบาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีต่อผู้ออกแบบ และพุทธศาสนิกชนชาวไทย กรณีศึกษาคืออุโบสถวัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา มหาธรรมกายเจดีย์ จังหวัดปทุมธานีและพระพุทธรูปปางเหยียบโลก จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยสรุปได้ว่าความหมายที่ผู้ออกแบบต้องการสื่อ จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ผลสัมฤทธิ์ของการสื่อสารจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของผู้ออกแบบ การให้ข้อมูลข่าวสาร ความศรัทธา และการยอมรับของพุทธศาสนิกชน การรับรู้ถึงความหมาย และการตีความที่ถูกต้องและสอดคล้องกับความหมายที่ผู้ออกแบบต้องการสื่อ จะจำกัดอยู่ในหมู่พุทธศาสนิกชนที่ใกล้ชิด และได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ออกแบบ และวัดที่เป็นกรณีศึกษานั้นๆ สื่อมวลชนทำให้ผู้ออกแบบและวัดเป็นที่รู้จักในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยมากขึ้น สื่อมวลชนมีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนบางส่วนที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับวัดที่เป็นกรณีศึกษา แต่สื่อมวลชนไม่มีบทบาทและอิทธิพลโดยตรงต่อผู้ออกแบบ การศึกษาครั้งนี้ยังพบด้วยว่า วัตถุประสงค์แฝงของการดัดแปลงสัญญะของสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมทางพุทธศาสนาของกรณีศึกษา เกิดขึ้นจากการที่ผู้ออกแบบพยายามสร้างเอกลักษณ์ให้เกิดขึ้น เพื่อผลทางการดึงดูดพุทธศาสนิกชนให้เข้ามาปฏิบัติธรรม และบริจาคทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงวัด และดำเนินกิจการต่างๆ ของวัด
Other Abstract: The purposes of this research are in three folds. Firstly to gain insight into the meanings of the sign of the architectures, that have been transformed, that the designers want to communicate to Buddhists in Thailand. Secondly, how Buddhists in Thailand interpret those signs. Thirdly, the influences of mass media to the designers and Buddhists in Thailand. The case studies are the Monastery of Salaloy temple, Nakorn Ratchasima province; Maha Dhamagaya Chedi of Wat Phra Dhamagaya, Pathum-Thanee province and Buddha images at the attitude of stepping on the earth of Wat Sanamchandhra, Chachoengsao province. Results show that meanings of the the sign of architectures in Buddhism that had been transformed are different from one case study to another. This is due to differences of context and the designers' purposes. The successfulness of communicating those meanings to Buddhists depends on the knowledge level of designers, information dissemination and faith of Buddhists to that temple. Receiving of the right meanings and interpretation that agree with the designers ideas are limited to Buddhists who are acquainted with those temples and got information from the designers. Mass media had made those temples welknown among Buddhists in Thailand and have strong influences on some of the Buddhists who do not usually go to the temples used as case studies. But mass media do not have direct influence on the designers. This research also found that the hidden purposes of the transformation of signs of architecture of Buddhists used as case studies are to create the uniqueness so that they can pull Buddhists to that temple and donate money for using in activities of the temples.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8987
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.340
ISBN: 9741308108
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.340
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rangsunC.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.