Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9001
Title: รายการวิทยุกระจายเสียงภาคภาษาชาวเขา 6 ภาษา ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Hill tribe radio programme of Radio Thailand, Chiangmai Broadcast in 6 dialects
Authors: ศาลินา นิ่มตระกูล
Advisors: วิภา อุตมฉันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Vipha.U@chula.ac.th
Subjects: ชาวเขา
วิทยุกระจายเสียง
การสื่อสารในการพัฒนาชนบท
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงวิธีการดำเนินงานในการผลิตรายการ รูปแบบในการนำเสนอ และเนื้อหาของรายการวิทยุกระจายเสียงภาคภาษาชาวเขา 6 ภาษา ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของผู้ฟังชาวเขา และความสอดคล้องระหว่างรูปแบบในการนำเสนอ และเนื้อหารายการ กับความต้องการและการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังชาวเขา ผลการวิจัยพบว่า รายการวิทยุกระจายเสียงภาคภาษาชาวเขาได้เริ่มดำเนินการออกอากาศครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2507 โดยเริ่มกระจายเสียงภาษาเย้าก่อนเป็นอันดับแรก และต่อมาในปี พ.ศ. 2516 จึงได้มีการกระจายเสียงครบทั้ง 6 ภาษา ได้แก่ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง มูเซอ ลีซอ และอีก้อ โดยในระยะแรกที่เริ่มทำการกระจายเสียงนั้น รัฐบาลได้ใช้รายการวิทยุภาคภาษาชาวเขาเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายแย่งชิงกำลังคนจากฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ที่ไม่หวังดีต่อประเทศไทย โดยมีเนื้อหารายการที่เน้นในเรื่องของข่าวสารจากทางราชการเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนั้นจะเป็นเนื้อหาที่เป็นความรู้โดยทางรายการจะได้รับบทความที่ใช้ในการออกอากาศจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กรมป่าไม้ เป็นต้น แต่นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อชาวเขาได้ผ่อนคลายลงและส่งผลมายังนโยบายในการดำเนินรายการวิทยุภาคภาษาชาวเขาให้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น มุ่งยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเขาให้ดีขึ้นแทนการแย่งชิงกำลังคนเช่นแต่ก่อน การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ฟังชาวเขานั้นพบว่า ปัจจุบันทางสถานีฯ ยังไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟังชาวเขาเข้ามามีส่วนร่วมในรายการวิทยุภาคภาษาชาวเขาโดยตรง คือ ในรูปแบบของคณะกรรมการดำเนินงาน แต่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟังชาวเขาเข้ามามีส่วนร่วมโดยทางอ้อมด้วยการมีปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) กลับมายังรายการทั้งทางจดหมาย โทรศัพท์ การมาเยี่ยมชมสถานี และการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสถานีจัดขึ้น นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกาศชาวเขาทั้ง 6 ภาษา เข้าร่วมประชุมกำหนดผังรายการ รูปแบบในการนำเสนอ และเนื้อหาของรายการ โดยถือว่าผู้ประกาศชาวเขาทั้ง 6 ภาษา เป็นตัวแทนของผู้ฟังชาวเขาได้ในระดับหนึ่งเพราะเป็นชาวเขาเช่นเดียวกัน และทางสถานีฯ ยังมอบหมายให้ผู้ประกาศชาวเขาเป็นผู้เขียนบทความและคัดเลือกเนื้อหาในการออกอากาศด้วยตนเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ฟังชาวเขามากที่สุด นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ฟังชาวเขาทั้ง 6 เผ่า พบว่า ผู้ฟังชาวเขาทั้ง 6 เผ่า มีความเห็นว่ารูปแบบในการนำเสนอและเนื้อหาของรายการสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ฟังได้ในระดับหนึ่ง ผู้ฟังส่วนใหญ่ต้องการให้ทางสถานีฯ เพิ่มเวลาการออกอากาศของแต่ละภาษาให้มากขึ้นกว่าเดิม และในส่วนของการใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้รับจากรายการฯ นั้น พบว่า ผู้ฟังชาวเขาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน อนึ่ง ในการที่จะพัฒนารายการวิทยุภาคภาษาชาวเขาให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของผู้ฟังชาวเขา และแพร่หลายในหมู่ผู้ฟังชาวเขามากยิ่งขึ้นนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ รัฐบาลควรให้ความสนใจอย่างจริงจังด้วยการสนับสนุนทั้งในด้านกำลังและงบประมาณ รวมทั้งผลักดันให้มีการกำหนดนโยบายทางด้านสิทธิการสื่อสารของชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และควรมีการออกกฎหมายเพื่อรองรับเกี่ยวกับสิทธิการสื่อสารของชนกลุ่มน้อยในประเทศด้วย
Other Abstract: The objective of this research is to study Hill Tribe Radio Programme of Radio Thailand, Chiangmai, Broadcast in 6 dialects, in terms of production methods, format and content, audience participation and the relation between format and content and needs of Hill Tribe audiences. As the result of the study, hill tribe Radio Programme of Radio Thailand, Chiangmai, was provided since 1964. The programme was first broadcast in Yao and then, in 1973, was broadcast in 6 dialects--Mong, Yao, Karen, Muser, lisaw and Akha. At the beginning, the programme was used as a political media to recruit people from government offenders. Therefore, the programme content mainly emphasized on government news and articles from many of government organizations, for example, the Ministry of Interior and the Royal Forest Department. However, since 1989 until now, the political crisis has been resolved. Thus, the primary objective of providing the Hill Tribe Radio Programme was changed to improvement of hill tribe's quality of life. The result of study of hill tribe audience's participation shows that the programme does not give the audiences an opportunity to participate directly in form of committee. Nevertheless, there is indirect participation in various ways, for example, audiences feedback in form of letter, calling, and radio station visiting. Moreover, in order to provide the programme in accordance with audiences needs, the radio station has hill tribe broadcasters, as the audiences representatives, join in deciding format and content of the programme and also writing or selecting articles to be broadcast. As the result of interviewing the audiences, the programme can satisfy their needs to a certain degree. They found the programme useful for their daily life and request to extend broadcast duration. To efficiently develop Hill Tribe Radio Programme to be more useful and pervasively admitted by hill tribe audiences, the most important things are serious attention and support from the government in terms of people and funding, including identifying policy on rights of hill tribe comunications, and issuing the law to support the policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9001
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.341
ISBN: 9741303297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.341
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salina.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.