Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9007
Title: การศึกษาโครงสร้างและความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์ในประเทศไทย
Other Titles: A study of structure and comparative advantage of compressor industry in Thailand
Authors: กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ
Advisors: ชลัยพร อมรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Chalaiporn.A@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์
ต้นทุนการผลิต
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างอุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์ในประเทศไทย ลักษณะการกระจุกตัว ตลอดจนความได้เปรียบเทียบในการผลิต โดยการศึกษาจะมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะคอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศประเภทที่ใช้ในบ้านเท่านั้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวัดการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมประกอบด้วย ดัชนี Concentration Ratio Herfindahl Summary Index และ Comprehensive Concentration Ratio ซึ่งคำนวณจากข้อมูลกำลังการผลิตเป็นเวลา 12 ปี (พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2542) ส่วนเครื่องมือในการศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ ต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ โดยจะเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2541 การวิเคราะห์ในส่วนแรก พบว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์ในประเทศไทย มีลักษณะเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย โดยปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 5 ราย และหากพิจารณาถึงการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า อุตสาหกรรมมีระดับการกระจุกตัวที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์เป็นอุตสาหกรรมที่อาศัยเงินลงทุน และเทคโนโลยีในการผลิตสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งในการเข้ามาของผู้ผลิตรายใหม่ แต่อย่างไรก็ดีการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐที่ให้มีการส่งเสริมการลงทุน และส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรี ทำให้มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยที่ผู้ผลิตรายใหม่ที่เข้ามาส่วนมากจะเป็นการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้หลังจากมีการเปิดเสรีทางการค้า นอกเหนือจากการแข่งขันจากผู้ผลิตรายอื่นภายในประเทศแล้ว ผู้ประกอบการยังต้องแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศที่มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ และสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าอีกด้วย ในส่วนที่สอง คำนวณต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศในการผลิตโดยเปรียบเทียบสองช่วงเวลา พบว่าในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน สัดส่วน DRC ต่อ SER เฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมมีค่าเท่ากับ 0.94 ซึ่งน้อยกว่า 1 แสดงถึงต้นทุนการใช้ทรัพยากรในประเทศที่ใช้ในการผลิตคอมเพรสเซอร์นั้นต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดจากการนำเข้าคอมเพรสเซอร์จากต่างประเทศ แต่ในปี พ.ศ. 2541 สัดส่วน DRC ต่อ SER เฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมมีค่าเท่ากับ 1.19 ซึ่งมากกว่า 1 นั่นคืออุตสาหกรรมดังกล่าวสูญเสียความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากการขยายการลงทุนในขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ไม่สามารถผลิต ณ ระดับที่ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดได้ ดังนั้นมาตรการที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมนี้คือ การกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ของคอมเพรสเซอร์หรือขยายตลาดให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
Other Abstract: The objectives of this study are to analyze the domestic compressor industrial structure, industrial concentration and comparative advantage of this industry. The study will consider only the compressor of air-conditioner for home-use. Three indices are employed to measure the industrial concentration: concentration ratio, herfindahl summary index, comprehensive concentration ratio. The product capacity data for 12 years (1988-1999) are used in this study. The methodology for comparative advantage study is domestic resource cost, which is compared between 1995 and 1998. For the first part, it is found that industrial structure of this is oligopoly industry. There are currently five companies and the competitiveness or the sellers concentration study from the past until now shows that the concentration of industry is rather high because compressor industry requires high investment capital with modern technologies which are barrier to entry for new entrepreneur. However, the concentration of this industry tends to decrease due to the effect of trade liberalization and investment promotion policies from government. More producers are persuaded to enter the industry and most of them are likely to be joint-venture companies. Besides from the domestic competition, the producer has to compete with foreign producers who have large capacity and economy of scale. For the second part, the calcultion of domestic resource cost during the two period shows before changing exchange rate system in 1995 the average DRC/SER ratio is 0.94 that below one. It implies that the cost of production for compressor in the country is cheaper than imported product. However, in 1998 the average DRC/SER ratio is 1.19 that exceeds 1. The industry loses is comparative advantage due to the expansion of investment during the recession. Therefore, the government policies that aim to support the compressor locally producer should emphasis on encouraging demand or expands market including reducing import tax of raw material.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9007
ISBN: 9743468382
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karnjana.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.