Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9220
Title: | การเสนอวาระสาธารณะกรณีคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในสื่อมวลชนและสื่อของสหภาพแรงงานฯ |
Other Titles: | The channeling of anti EGAT's privatization public agenda in the media by EGAT labour union |
Authors: | นิศาชล ทวนทอง |
Advisors: | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ubonrat.S@chula.ac.th |
Subjects: | สื่อมวลชนกับการเมือง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2. เพื่อศึกษาการกำหนดวาระคัดค้านของสร.กฟผ.ในสื่อมวลชนและสื่อเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น โดยเน้นการเคลื่อนไหวคัดค้านในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ช่วงปี พ.ศ. 2547-2548 ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์เนื้อหาข่าว จากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7, ช่อง 9, เนชั่น แชนแนล รวมทั้งข่าวและบทความจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ไทยโพสต์, มติชน, กรุงเทพธุรกิจ ผลการวิจัยพบว่า สร.กฟผ.คัดค้านนโยบายแปรรูป กฟผ. เนื่องจากเห็นว่าการเปลี่ยนปรัชญารัฐวิสาหกิจจากบริการสาธารณะไปสู่การเป็นเอกชนจะส่งผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้า, ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า, เขื่อนและระบบสายส่งซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะจะตกเป็นของเอกชน รวมทั้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองในการกระจายหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงนำเสนอวาระคัดค้านออกสู่สาธารณชน ผลการวิจัยพบว่าวาระเรื่องค่าไฟฟ้าและการกระจายหุ้น เป็นประเด็นที่รัฐบาลออกมาตอบโต้อย่างทันควัน รองลงมาคือประเด็นเรื่องสมบัติสาธารณะ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์คุณภาพ อย่างไรก็ดี สื่อโทรทัศน์กระแสหลัก เช่น ช่อง 7 และ 9 ไม่มีส่วนผลักดันวาระคัดค้านมากเท่าที่ควร เนื่องจากให้น้ำหนักต่อแหล่งข่าวทางภาคนโยบาย ในขณะที่สถานีโทรทัศน์เนชั่น แชนแนล ซึ่งให้พื้นที่ สร.กฟผ.อย่างสม่ำเสมอมีผู้ชมจำนวนจำกัด สำหรับสื่อหนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์, มติชน, กรุงเทพธุรกิจ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพได้เปิดพื้นที่สาธารณะให้ฝ่ายคัดค้าน แต่หนังสือพิมพ์ประชานิยม คือไทยรัฐยังนำเสนอข่าวในเชิงประนีประนอมกับรัฐบาล ทำให้วาระการคัดค้านจำกัดอยู่ในวงแคบและขาดประสิทธิผล พนักงาน กฟผ. ได้จัดทำสื่อ www.luegat.com ซึ่งมีลักษณะเป็นสื่อพลเมืองขึ้นมาเพื่อเสนอวาระคัดค้านในนามเว็บไซต์ของสร.กฟผ.ซึ่งมีศักยภาพในการสื่อสารกับพนักงานภายในให้ร่วมคัดค้าน, สื่อสารกับเครือข่ายประชาสังคม รวมทั้งตอบโต้ประเด็นของรัฐบาลและฝ่ายบริหารด้วยการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความจริงและกระตุ้นให้ออกมาร่วมปฏิบัติการในการคัดค้านเพื่อปกป้องกิจการสาธารณะ นอกจากนี้ยังพบว่า สร.กฟผ. เคลื่อนไหวคัดค้านโดยวิธีการสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภายนอก โดยเน้นการคัดค้านนโยบายที่ไม่ถูกต้องและการทำประชามติในแนวทางของการเมืองภาคประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วม สร.กฟผ. จึงมีลักษณะการเคลื่อนไหวในรูปแบบของขบวนการทางสังคมรูปแบบใหม่ |
Other Abstract: | The objectives of this research are: 1. to study the anti-privatization policy of the Electricity Organization of Thailand (EGAT) 2. to study the channeling of public agenda of EGAT's Labor Union in the mainstream media and the union's website, luegat, during the Thai Rak Thai government in 2004-2005. The research methods are; document research, depth interview, field observation and content analysis of news from television Channel 7, 9 and Nation Channel Thai Rath, Thai Post, Matichon and Krungthep Turakit. The study found that EGAT Labor Union's opposition to the government's privatization policy was because this would change EGAT public service mandate. The change will have serious effect on electricity rate and the security of the system. Dams and electricity infrastructure would be transferred from public asset into private hands. The Union also opposed the plan to bring the public enterprise in to the stock market and the conflict of interest incurred from this policy. The government responsed immediately to the agenda on electricity rate and distribution of shares. Second priority was given to the agenda on public asset. The mainstream media although welcomed the anti-privatization move by the Labor Union did not push far enough to win public consensus. Television Channel 7 and 9 gave more spaces to government and EGAT sources while Nation Channel inclined to give spaces to EGAT Labor Union. Thai Post, Matichon and Krungthep Turakit gave spaces to the anti-privatization groups whereas Thai Rath was compromised by government. EGAT Labor Union put up its website, www.luegatl.com, in a bid to oppose the privatization policy. This is a new type of 'citizen medium' to channel its opposition agenda to EGAT's employees and union members, including civil society networks. The website worked as a channel to counter the government and administrative agenda by providing information and conscientize, as well as empower the readers. In addition, EGAT's Labor Union built its network around civil society as a strategy to strengthen the people's political movement. This means that the anti-privatization agenda has become part of a larger movement or the New Social Movement (NSM). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9220 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nisachol_Th.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.