Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9244
Title: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการปกป้องสิทธิของตนเอง จากข้อความโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม
Other Titles: Consumers' knowledge, attitude, and behavior in protecting themselves from unfair advertisements
Authors: นลินี ตันจิตติวัฒน์
Advisors: วิฏราธร จิรประวัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vittratorn.C@chula.ac.th
Subjects: โฆษณา
การคุ้มครองผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการปกป้องสิทธิของตนเอง จากข้อความโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 วิธี วิธีแรก คือ การวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และอีกวิธีการหนึ่งคือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยสัมภาษณ์ผู้บริโภคที่เคยผ่านการร้องเรียน ต่อหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้ว จำนวน 10 คน การวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการปกป้องสิทธิของตนเอง จากข้อความโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งมีทัศนคติต่อ การปกป้องสิทธิของตนเอง จากข้อความโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งมีทัศนคติต่อการปกป้องสิทธิของตนเองไปในทางบวก สำหรับพฤติกรรมในการปกป้องสิทธิจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ เลิกใช้สินค้านั้นหรือบอกให้คนอื่นทราบ และร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความตื่นตัว ในการปกป้องสิทธิของตนเองด้วยการร้องเรียน ไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการคือ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ทราบบทบาทและหน้าที่ ของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างชัดเจน 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ค่อนข้างไปในทางลบ 3. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะร้องเรียนไปยัง หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคต่อเมื่อพวกเขาได้รับอันตราย หรือความเสียหายในทรัพย์สินจำนวนมากจากการใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ
Other Abstract: To study the consumers' knowledge, attitude and behavior in protecting themselves from unfair advertisements. The methodology applied in the study included 2 approachs. First, survey research was used to collect data of 400 samples. Second, depth interviews with ten people who had experienced in impeaching to the consumer protection offices. Results indicate that most respondents know about their rights in protecting themselves from unfair advertisements and they are likely to have positive attitudes toward it. They protect themselves by not repurchasing those products or sharing unsatisfactory experience with other people, and impeaching to the consumer protection offices. Moreover, most respondents are still less active in impeaching to the consumer protection offices based upon three major reasons: a lack of an understanding of consumer protection office's roles and responsibilities; their negative attitudes toward them; and taking action only when they got damages or money loss from using the products or services.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9244
ISBN: 9746391054
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nalinee_Ta_front.pdf751.15 kBAdobe PDFView/Open
Nalinee_Ta_ch1.pdf721.33 kBAdobe PDFView/Open
Nalinee_Ta_ch2.pdf951.6 kBAdobe PDFView/Open
Nalinee_Ta_ch3.pdf733.65 kBAdobe PDFView/Open
Nalinee_Ta_ch4.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Nalinee_Ta_ch5.pdf865.56 kBAdobe PDFView/Open
Nalinee_Ta_back.pdf842.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.